ผู้ที่สนใจทำธุรกิจร้านปริ้นงาน ร้านถ่ายเอกสาร หรือผู้ที่มีเครื่องปริ้นหลายตัวไว้รองรับงานพิมพ์หลากหลายประเภท และกำลังมองหาหมึกพิมพ์ดี ๆ ไว้ใช้งาน แต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร บล็อกนี้ OfficeMate จะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของหมึกปริ้นเตอร์ และการเลือกหมึกปริ้นเตอร์แต่ละแบบ ให้เหมาะกับงานปริ้นแต่ละประเภทเพื่อให้ได้หมึกเครื่องปริ้นที่ตอบโจทย์การใช้งานสูงสุด
ประเภทของหมึกเครื่องปริ้น
-
Dye-based ink
น้ำหมึกประเภทนี้เป็นน้ำหมึกมาตรฐานของปริ้นเตอร์ทั่วไปที่ใช้กันโดยทั่วไปทั้งใช้ที่บ้าน และสำนักงาน หมึกประเภทนี้จะมีส่วนผสมของน้ำเป็นหลัก มีเม็ดสีขนาดเล็ก และแน่น ทำให้เม็ดสีมีความหนาแน่นและเข้มดูดซึมกับกระดาษหรือพื้นผิวได้ดี ปริ้นออกมาแล้วสีสันสวยสด หมึกชนิดนี้จึงนิยมใช้ในตลับหมึกอิงค์เจ็ทเพราะใช้งานง่ายราคาถูก แต่ข้อเสียก็คือตัวหมึกอาจจะไม่คงทนและเกิดปัญหาตลับหมึกรั่วซึมได้ง่าย
- Dye-based ink เหมาะกับใคร: เหมาะกับใช้งานในบ้าน สำนักงานทั่วไป และธุรกิจขนาดเล็ก
-
Pigment ink
หมึกประเภทนี้เป็นหมึกกันน้ำ มีความคงทนสูง มีโทนสีที่กว้างกว่าหมึกแบบอื่น ๆ อนุภาคเม็ดสีละเอียดขนาดเล็ก และไม่สลายตัวเมื่อสัมผัสน้ำ ทำให้มีอายุการใช้งานยาวนาน เวลาพิมพ์งานออกมาแล้วให้เม็ดสีที่คมชัดไม่ซีดจาง ข้อเสียก็คือราคาค่อนข้างสูง อีกทั้งยังมีโทนสีที่ไม่สดใสเท่าหมึกแบบ Dye-based ink ส่วนใหญ่จะใช้พิมพ์งาน ภาพถ่าย งานศิลปะ งานโฆษณา งานออกแบบผลิตภัณฑ์
- Pigment ink เหมาะกับใคร: เหมาะกับธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลางที่เน้นงานออกแแบบกราฟิก
-
Aqueous
น้ำหมึกประเภทนี้คล้ายกับหมึก Dye-based ink แต่ราคาค่อนข้างย่อมเยา อีกทั้งโทนสียังมีความสว่างสดใสกว่าด้วย ข้อเสียก็คือตัวสีอาจจะซีดจางได้ตามกาลเวลาจึงเหมาะกับการใช้ปริ้นลงกระดาษที่มีการเคลือบเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำหมึก โดยหมึกประเภทนี้นิยมใช้กับงานผืนผ้าใบ รูปถ่าย โปสเตอร์ แต่ไม่เหมาะกับงานที่ต้องติดตั้งกลางแจ้ง โดนแสงแดดและน้ำ เพราะอาจทำให้หมึกซีดจางได้
- Aqueous เหมาะกับใคร: เหมาะกับธุรกิจขนาดกลาง ร้านถ่ายรูป และบริษัทออกแบบกราฟิก
-
Dye Sublimation
หมึกประเภทนี้ใช้หลักการแม่สีจะประกอบด้วยแม่สี 3 สี C M Y เหมาะกับงานพิมพ์บนผ้าโพลีเอสเตอร์หรือวัตถุที่มีการเคลือบแข็ง การพิมพ์สิ่งทอ และการพิมพ์เคสโทรศัพท์ หมึกประเภทนี้จะไม่เหมาะกับงานสำนักงานหรือใช้ตามบ้าน แต่จะใช้กับเครื่องพิมพ์งานอุตสาหกรรมเป็นหลัก
- Dye Sublimation เหมาะกับใคร: เหมาะกับธุรกิจขนาดใหญ่ที่เน้นพิมพ์งานในรูปแบบอุตสาหกรรมจำนวนเยอะ ๆ อย่างธุรกิจสิ่งทอ โรงงาน เป็นต้น
-
Strong solvent
หมึกพิมพ์ประเภทนี้จะมีความคงทน และเม็ดสีที่ชัดเจน นิยมใช้กับงานป้ายบิลบอร์ดกลางแจ้ง และการพิมพ์ลงบนพลาสติก เพราะจะมีอายุการใช้งานกลางแจ้งราว ๆ 5 ปี ข้อเสียก็คือกลิ่นค่อนข้างฉุน ควรใช้ระบบพิมพ์แบบเปิดเพื่อให้อากาศถ่ายเทและไม่เป็นอันตรายกับผู้ใช้งาน
- Strong solvent เหมาะกับใคร: เหมาะกับธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น ร้านพิมพ์ป้ายไวนิล ป้ายบิลบอร์ด เป็นต้น
-
Eco solvent
หมึกพิมพ์ที่มีเชื้อน้ำมัน มีความมันเงา กันน้ำ กันแดด และกันแสงยูวี ที่สำคัญมีความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้มีราคาสูงกว่าหมึกประเภทอื่น ๆ นิยมใช้กับงานป้ายโฆษณา บิลบอร์ดกลางแจ้ง ไวนิล เป็นต้น
- Eco solvent เหมาะกับใคร: เหมาะกับธุรกิจขนาดใหญ่ พิมพ์งานสเกลใหญ่ ๆ เช่นบริษัทโฆษณาออกแบบกราฟิก เป็นต้น
7. Toner
หมึกพิมพ์ประเภทนี้เป็นตลับหมึกเลเซอร์มีความพิเศษตรงที่เป็นผงหมึกไม่ได้เป็นน้ำหมึกแบบหมึกประเภทอื่น ๆ มีราคาสูงกว่าหมึกพิมพ์อิงค์เจ็ท ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีคุณสมบัติกันน้ำได้ดี ไม่เลอะเลือนง่าย แถมหัวหมึกยังทนทานไม่มีวันแห้ง ด้วยความที่เป็นผงหมึกจึงกระจายตัวได้ดีทำให้ได้งานพิมพ์ที่มีความละเอียดและคมชัดสูงมาก เหมาะกับงานพิมพ์ขาวดำที่ต้องการความละเอียดและความรวดเร็ว
- Toner เหมาะกับใคร: ใช้งานในบ้าน สำนักงานทั่วไป และธุรกิจขนาดเล็กทั่วไป
เป็นอย่างไรกันบ้างกับสาระดี ๆ เกี่ยวกับหมึกพิมพ์แต่ละประเภทที่ OfficeMate นำมาฝาก หวังว่าจะช่วยคลายข้อสงสัยว่าหมึกแต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร และเหมาะกับงานประเภทไหนไปบ้างแล้ว เลือกใช้งานหมึกพิมพ์ให้ถูกต้องกับประเภทงานที่พิมพ์ ก็จะช่วยให้งานออกมามีประสิทธิภาพได้อย่างแน่นอน
บทความที่เกี่ยวข้อง