ขึ้นชื่อว่าอุบัติเหตุยังไงก็เป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิด ยิ่งในสถานที่ทำงานอย่างโรงงานแล้ว หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาอาจจะสร้างความเสียหายให้กับทั้งชีวิต และทรัพย์สินในระดับที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ ความปลอดภัยในโรงงานจึงเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ

บทความนี้ OfficeMate จะพาทุกคนไปสำรวจสถิติอุบัติเหตุในโรงงานกัน ว่าอุบัติเหตุที่เป็นท็อปลิสต์ หรือเกิดขึ้นบ่อย และจะมีวิธีการรับมือ หรือแนวทางป้องกันอุบัติเหตุนั้นอย่างไรบ้าง เพื่อความปลอดภัยของทรัพย์สินและสวัสดิภาพของพนักงานในโรงงาน มาอ่านกัน

สถิติอุบัติเหตุในโรงงานที่พบได้บ่อย

  1. อัคคีภัยในโรงงาน หรือไฟไหม้โรงงาน
  2. สารเคมีรั่วไหลในโรงงาน และโรงงานระเบิด
  3. เครื่องจักรขัดข้อง
  4. อุบัติเหตุอื่น ๆ

สถิติอุบัติเหตุที่พบได้บ่อยในโรงงานอุตสาหกรรมอันดับแรกเลยก็คืออัคคีภัยหรือเหตุไฟไหม้ คิดเป็นตัวเลขกว่า 90% ของอุบัติเหตุทั้งหมดที่เกิดในโรงงาน รองลงมาก็คืออุบัติเหตุจากสารเคมีรั่วไหลและการระเบิด ซึ่งอุบัติเหตุเหล่านี้เป็นอุบัติเหตุใหญ่หากเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายต่อพื้นที่โดยรอบโรงงานเป็นบริเวณกว้าง วัดเป็นมูลค่าความเสียหายแล้วสูงมาก โดยกลุ่มโรงงานที่มีสถิติเกิดอุบัติเหตุบ่อยก็คือกลุ่มโรงงานที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับ พลาสติก โฟม กระดาษ ยาง

นอกจากอุบัติเหตุใหญ่ดังได้กล่าวไปแล้วยังมีอุบัติเหตุเล็ก ๆ อันเนื่องมาจากเครื่องจักรขัดข้องและอุบัติเหตุอื่น ๆ ที่เกิดระหว่างการปฏิบัติงาน ซึ่งอุบัติเหตุในลักษณะเช่นนี้มักจะเกิดกับพนักงานในโรงงาน เช่น ลื่นล้ม สัมผัสสารเคมี สารเคมีเข้าตา บาดเจ็บจากอุปกรณ์โรงงาน เป็นต้น ความรุนแรงอาจจะเล็กน้อยหรือหนักถึงขั้นที่สูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียชีวิตได้

สถิติการเกิดอุบัติเหตุในโรงงาน_OfficeMate

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุในโรงงาน

สาเหตุการเกิดอุบัติเหตุในโรงงานนั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุใหญ่ ๆ ได้แก่

  • อุปกรณ์โรงงานชำรุด

สาเหตุที่เกิดจากความไม่พร้อมหรืออุปกรณ์โรงงานชำรุดอยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมใช้ สายไฟขาด สารเคมีและวัตถุไวไฟรั่วไหล เป็นต้น

  • ความประมาทเลินเล่อ

สาเหตุที่เกิดจากความประมาทเลินเล่อ เช่น เก็บอุปกรณ์ไม่เป็นระเบียบ ไม่สับสวิตซ์หลังใช้งาน การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบความปลอดภัยในการทํางาน ข้ามขั้นตอนในการปฏิบัติงาน การทํางานโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน หรือแต่งกายไม่เหมาะสม เป็นต้น 

แนวทางป้องกันการเกิดอุบัติเหตุในโรงงาน

การป้องกันอุบัติเหตุในโรงงานสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยหลัก 3 ป ได้แก่ “ปลุกจิตสำนึกอันตราย” “ประเมินความเสี่ยง” และ “ปรับเปลี่ยนให้ปลอดภัย”

ป.1 “ปลุกจิตสำนึกอันตราย”

ปลุกจิตสำนึกพนักงานในโรงงานและผู้ที่เกี่ยวข้องให้คำนึงถึงอันตราย และหลักความปลอดภัยหรือ Safety first ในการปฏิบัติงาน รู้และเข้าใจว่าอุบัติเหตุในการทำงานนั้นจะเกิดได้อย่างไรบ้าง เพื่อนำไปสู่การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หมั่นสำรวจและซ่อมบำรุงเครื่องจักรและอุปกรณ์โรงงานเป็นประจำ การจัดเตรียมอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในโรงงานให้พร้อม เช่น สวมใส่ถุงมือ ชุดเซฟตี้หรือชุดหมี หมวกเซฟตี้ ที่ครอบป้องกันเสียงดัง รองเท้าเซฟตี้ เพื่อป้องกันร่างกายจากอุบัติเหตุ 

ป.2 “ประเมินความเสี่ยง”

ควรประเมินความเสี่ยงของการปฏิบัติ พนักงานจำเป็นจะต้องรู้ว่างานที่ปฏิบัติว่ามีอันตรายอย่างไร มีขั้นตอนการทำงานอย่างไรบ้าง ต้องรู้จักวิธีป้องกันตัวเองในระหว่างปฏิบัติงานว่ามีความเสี่ยงอะไรบ้าง ถ้าทำงานกับสารเคมีอาจจะต้องสวมถุงมือ ใส่แว่นตานิรภัย ป้องกันไม่ให้สารเคมีเข้าตา ถ้าทำงานกับเครื่องจักรขนาดใหญ่ต้องอยู่กับความร้อนหรือความเย็นที่อุณหภูมิติดลบอาจจะต้องสวมชุดหมีควบคุมอุณหภูมิ สวมหมวกเซฟตี้ รองเท้าเซฟตี้ เป็นต้น ไม่เพียงเท่านั้นยังควรประเมินความเสี่ยงของเครื่องจักรที่ใช้งานว่าอยู่ในสภาพเช่นไรเสี่ยงแค่ไหนที่จะเกิดอุบัติเหตุ จะได้เตรียมรับมือและหาแนวทางแก้ไขได้ทันก่อนที่จะบานปลายเกิดอุบัติเหตุ

การป้องกันเกิดอุบัติเหตุในโรงงาน_OfficeMate

ป. 3 “ปรับเปลี่ยนให้ปลอดภัย”

เมื่อประเมินความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุเรียบร้อยแล้วก็จัดการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ปลอดภัย และลดความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ หากเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ชำรุดก็ควรรีบส่งซ่อมบำรุงไม่ควรฝืนใช้งาน นอกจากนั้นควรดูว่าอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยอย่าง หมวกเซฟตี้ แว่นตานิรภัย ถังดับเพลิง ถุงมือ ฯลฯ ว่ามีเพียงพอหรือไม่ ขาดเหลือควรหมั่นตรวจเช็คเพื่อให้มีใช้เพียงพอเพื่อความปลอดภัยในระหว่างปฏิบัติงาน

การเกิดอุบัติเหตุในโรงงานนั้นเราไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้เลย ทำได้แค่การป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ หรือหากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาจริง ๆ อาจจะช่วยลดความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นกับชีวิต และทรัพย์สินได้ในระดับหนึ่ง

หากคุณกำลังมองหาอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยในโรงงานเพิ่มเติม ที่ OfficeMate เรามีครบทุกความต้องการ มั่นใจ ธุรกิจปลอดภัยด้วยอุปกรณ์โรงงานที่ได้มาตรฐานระดับสากล

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง: mahidol, jorporthai และ reg3