อย่างที่รู้กันว่าโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน เป็น Airborne แพร่ระบาดเร็ว และติดได้ง่าย ว่ากันว่าผู้สัมผัสเสี่ยงสูง หรือใกล้ชิดคนที่ติดเชื้อโควิดโอไมครอน ใน 10 คน อย่างน้อยๆ มีโอกาสที่จะได้รับเชื้อ 9-10 คน (อ้างอิงจากบทสัมภาษณ์ของนายแพทย์รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษาระดับกระทรวง ประธานกรรมการ MIU กระทรวงสาธารณสุข) และแม้ว่าอาการของโรคจะดูรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์ก่อนหน้า แต่สำหรับประชาชนในกลุ่มอ่อนแอ หรือกลุ่มเสี่ยง 7 โรค เชื้อนี้ก็ยังถือว่าอันตรายและสามารถทำให้ถึงแก่ชีวิตได้เช่นกัน 

รู้แบบนี้แล้ว หากคุณคือหนึ่งในผู้สัมผัสเสี่ยงสูง หรือมีคนใกล้ชิด อย่างคนในครอบครัว เพื่อนที่เพิ่งไปทานข้าวด้วยกัน แฟน เพื่อนร่วมงาน หรือเพื่อนบ้านคนสนิท ติดเชื้อโควิดโอไมครอน (และโควิดสายพันธุ์อื่นๆ) เราควรจะปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อต่อให้ได้มากที่สุด ไปดูกัน!

ใครคือผู้สัมผัสเสี่ยงสูง?

นิยามของผู้สัมผัสเสี่ยงสูง คือ คนที่อยู่ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อในสถานที่เดียวกัน เวลาเดียวกัน และไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย

  • ผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกันกับผู้ติดเชื้อโควิด-19
  • ผู้ที่ทานอาหารร่วมกันกับผู้ติดเชื้อโควิด-19
  • ผู้ที่พูดคุยกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในระยะใกล้*นานเกิน 5 นาที
  • ผู้ที่ได้สัมผัส หรือถูกผู้ติดเชื้อไอ/จามรด
  • ผู้ที่อยู่ในสถานที่แออัดร่วมกับผู้ติดเชื้อในระยะใกล้* เกิน 15 นาที

*ในระยะใกล้ คือ ใกล้กว่า 1 เมตร  

ทำอย่างไร? หากเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง

1.ตั้งสติ แจ้งให้คนใกล้ชิดทราบ

อันดับแรกต้องตั้งสติ อย่าโทษตัวเอง และไม่โทษผู้ติดเชื้อ หากคุณคือผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ให้รีบโทรแจ้งคนใกล้ชิดของคุณทันที ไม่ว่าจะคนในครอบครัว แฟน เพื่อนร่วมงาน หรือคนที่เพิ่งเจอกัน โดยบุคคลเหล่านี้จะยังเป็นเพียงผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ แต่ถ้าหากคุณได้รับเชื้อมา เขาเหล่านั้นก็จะกลายเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงทันที ดังนั้น โทรแจ้งให้ทราบก่อน เพื่อให้พวกเขาได้เตรียมตัวก็จะดีกว่าค่ะ

2.กักตัวทันที

หลังจากทราบว่ามีคนใกล้ชิดติดเชื้อโควิด-19 และตัวเองเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ต้องกักตัวทันที 14 วัน นับตั้งแต่วันที่เจอผู้ติดเชื้อวันสุดท้าย แจ้งบริษัทขอทำงานที่บ้าน ยกเลิกนัด และธุระต่างๆ ออกไปก่อน เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อต่อให้ได้มากที่สุด  

3.เตรียมชุดตรวจโควิด ATK ให้พร้อม

การเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงอาจยังไม่จำเป็นต้องไปตรวจ PCR ที่โรงพยาบาล แนะนำให้เตรียมชุดตรวจ ATK เอาไว้ และตรวจหาเชื้อหลังจากเจอผู้ติดเชื้อแล้ว 3-5 วัน เช่น เจอผู้ติดเชื้อล่าสุดวันที่ 3 มกราคม ควรตรวจ ATK ในช่วงวันที่ 6-8 มกราคม เป็นต้นไป เพราะหากตรวจทันที ปริมาณเชื้ออาจจะยังน้อย จน ATK ไม่สามารถตรวจพบได้ และถึงจะตรวจแล้วได้ผลเป็นลบ ก็ต้องกักตัวต่อไป ไม่พบปะผู้คน จนกว่าจะครบ 14 วัน

4.สังเกตอาการตัวเองทุกวัน

โควิด 19

ในระหว่างกักตัวให้ใช้ชีวิตประจำวันปกติ ทำงาน ดูทีวี อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย แต่ต้องสังเกตอาการตัวเองทุกวัน แนะนำให้วัดอุณหภูมิร่างกาย หากเกิน 37.5 องศา หรือมีอาการหนาวสั่น เริ่มมีน้ำมูก ไอ เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น การรับรสเปลี่ยนไป ก็ควรปรึกษาแพทย์ทันที 

5.จัดบ้าน/จัดคอนโดให้พร้อมกักตัว

ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่ไม่ได้อยู่คนเดียว แนะนำให้จัดบ้าน/จัดที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับการกักตัว ดังนี้

  • หากมีห้องส่วนตัวให้อยู่แต่ในห้อง และถ้าเลือกห้องที่มีห้องน้ำในตัวได้ก็จะดีที่สุด 
  • หากไม่มีห้องส่วนตัว ให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือบ่อยๆ และจัดพื้นที่โดยเว้นระยะห่างจากคนอื่น โดยเฉพาะเด็ก และผู้สูงอายุให้ได้มากที่สุด หรืออย่างน้อย 1.5 – 2 เมตร หรืออาจใช้ฉากกั้นคั่นเอาไว้
  • แยกของกิน ของใช้ส่วนตัว เช่น แก้วน้ำ จาน ชาม ยาสีฟัน สบู่ ฯลฯ
  • หากใช้ห้องน้ำรวม ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงควรใช้ห้องน้ำเป็นคนสุดท้าย ปิดฝาชักโครกก่อนกดน้ำ และควรทำความสะอาดห้องน้ำพร้อมฆ่าเชื้อทุกครั้งหลังใช้งานเสร็จแล้ว
  • เตรียมถังขยะส่วนตัวเอาไว้ เลือกแบบที่มีฝาปิดมิดชิด
  • ในกรณีที่ต้องนอนรวมกัน ให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา เปิดประตู/หน้าต่างระบายอากาศ ไม่ใช้แอร์ และผู้สัมผัสเสี่ยงสูงควรอยู่ใต้ลมเสมอ  

6.ตรวจหาเชื้อซ้ำหลังกักตัวครบ 14 วัน

เมื่อกักตัวจนครบ 14 วันแล้ว ให้ตรวจหาเชื้อซ้ำด้วยชุดตรวจ ATK หากผลออกมาเป็นลบก็สบายใจได้ หรือถ้าใครไม่แน่ใจ อาจจะไปขอตรวจ PCR ที่โรงพยาบาล โดยแจ้งว่าเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงก็ได้เช่นกันค่ะ

โควิด 19

OfficeMate ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคน ไม่ต้องเครียด หรือวิตกกังวล เพียงกักตัว เฝ้าดูอาการ และหากขาดเหลืออะไร อยากตุนไอเทมป้องกันโควิด หรือดันต้องกักตัวฉุกเฉิน สามารถเข้ามาช้อปออนไลน์ง่ายๆ ไม่ต้องออกจากบ้าน ได้เลยที่ เว็บไซต์ OfficeMate เราจัดส่งให้ถึงหน้าบ้าน และส่งให้ฟรี หากสั่งซื้อครบ 499 บาท 

บทความแนะนำ!

ขอบคุณข้อมูลจาก