ในสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างการเกิดโรคระบาด หรือเกิดภัยธรรมชาติ ที่มาเร็ว และรุนแรงชนิดที่ตั้งรับกันแทบไม่ทัน บล็อกนี้ OfficeMate มีเช็กลิสต์ของใช้ 11 อย่าง ที่ควรซื้อตุนติดบ้านเอาไว้ หากมีประกาศภาวะฉุกเฉินจะได้เตรียมรับมือ และตั้งรับได้ทัน มีอะไรบ้าง ไปเช็กลิสต์กันเลย!
11 ของใช้จำเป็นต้องมี เพื่อรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน
1. น้ำดื่ม
คนเราอดอาหารได้นานกว่าอดน้ำ สิ่งแรกที่ต้องเตรียมและต้องตุนให้เยอะก็คือ ‘น้ำดื่ม‘ ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น อย่างเกิดน้ำท่วม เส้นทางถูกตัดขาด ไม่สามารถออกไปหาอาหารได้ตามปกติ อย่างน้อยๆ ต้องมีน้ำเปล่าสำหรับดื่มอย่างเพียงพอ และนอกจากเอาไว้ใช้บริโภคแล้ว ยังสามารถเอาไว้อุปโภค ล้างทำความสะอาดเนื้อตัว หรือเอาไว้ปรุงอาหารง่ายๆ อย่างหุงข้าว ทอดไข่ ต้มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หรือชงนมสำหรับบ้านที่มีเด็กเล็กได้อีกด้วย
2. อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง
อาหารแห้งและอาหารกระป๋องหมดอายุช้า เก็บได้นาน และทานง่าย ซื้อเก็บไว้ให้หลากหลาย และพอกินอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ อาหารแห้งและอาหารกระป๋องที่แนะนำ เช่น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป, ปลากระป๋อง, ผักกาดดองกระป๋อง, หอยลายกระป๋อง, หมูหยอง, น้ำพริก และอาจจะเตรียมข้าวสาร และไข่ไก่เอาไว้ด้วย หรือจะตุนขนมขบเคี้ยว, แครกเกอร์, เนยถั่ว, ซีเรียลบาร์, โปรตีนบาร์, เอนเนอจี้บาร์, ถั่ว, รวมไปถึงนมกล่องแบบ UHT อาหารเหล่านี้ทานง่าย ให้พลังงานสูง และไม่เปลืองพื้นที่จัดเก็บ ช่วยให้อิ่มท้องได้ในยามวิกฤต
3. ของใช้ส่วนตัว
ของใช้ส่วนตัว อย่างผ้าอนามัย ผ้าอ้อมเด็ก และผ้าอ้อมผู้ใหญ่ จำเป็นต่อสุขอนามัย และช่วยได้หากเกิดน้ำท่วมแล้วไม่มีห้องน้ำ ซื้อตุนเอาไว้ให้เพียงพอและเปลี่ยนใช้ตามคำแนะนำที่บรรจุภัณฑ์ อย่าใช้ซ้ำ หรือสวมใส่นานเกินไปเพื่อสุขอนามัยที่ดี
4. ยารักษาโรคและชุดปฐมพยาบาล
ยารักษาโรคและชุดปฐมพยาบาลควรเก็บเอาไว้ในกล่องที่สามารถพกพาไปไหนมาไหนได้สะดวก ภายในกล่องควรมียาสามัญประจำบ้าน เช่น ยาแก้ท้องเสีย, ผงเกลือแร่, ยาแก้ท้องอืด, ยาธาตุ, ยาดม, ยาหม่อง, ยาทา/จุดกันยุง, ยาแก้แพ้, พาราเซตามอล, ยาแก้ไอ, ยาแก้เจ็บคอ, แอลกอฮอล์ล้างแผล, น้ำเกลือ, เบตาดีน, สำลี, พลาสเตอร์ปิดแผลหลายขนาด และห้ามลืมยาประจำ สำหรับคนที่มีโรคประจำตัว
5. อาหารสัตว์เลี้ยง
ในยามวิกฤต สัตว์เลี้ยงก็ลำบากไม่แพ้มนุษย์ บ้านไหนที่เลี้ยงสัตว์ก็อย่าลืมตุนอาหารสัตว์เลี้ยงเอาไว้ให้เพียงพอ เหล่าน้องๆ จะได้ไม่เกิดภาวะเครียดนะคะ
6. เตาแก็สพกพา
ในกรณีสถานการณ์ฉุกเฉิน เกิดเหตุน้ำท่วม ไฟฟ้าโดนตัด ไม่สามารถทำครัวหรือต้มน้ำร้อนได้ หากมีเตาแก็สพกพาเล็กๆ ติดเอาไว้ ก็ยังพอให้สามารถทำอาหารง่ายๆ ได้บ้าง เช่น หุงข้าว ทอดไข่ หรือต้มบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น อย่าลืมซื้อแก็สกระป๋องเอาไว้เปลี่ยนด้วยนะคะ
7. ไฟฉาย
ไฟฉายเป็นอุปกรณ์จำเป็นที่สุดในยามฉุกเฉิน แสงสว่างจะช่วยไม่ให้เราเกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อน เเละเป็นอุปกรณ์ในการค้นหาที่ดีที่สุดโดยเฉพาะเวลาหาป้ายทางหนีไฟ หรือนำไปทำเป็นสัญลักณ์ไฟฉุกเฉินขอความช่วยเหลือ (SOS) แนะนำให้เลือกใช้เป็นกระบอกไฟฉายแบบใส่ถ่าน จะใช้ได้นานกว่าและไม่ต้องชาร์จไฟให้ยุ่งยาก
8. แบตเตอรี่สำรอง
แบตเตอรี่สำรองเป็นหนึ่งในอุปกรณ์จำเป็นยุคดิจิตอล หากเกิดฉุกเฉิน ไฟดับ น้ำท่วม หรือโดนตัดไฟ แบตเตอรี่สำรองจะเป็นแหล่งพลังงานให้โทรศัพท์ยังสามารถใช้งานต่อไปได้ ชาร์จเอาไว้ให้เต็ม แล้วแบ่งใช้หลายๆ ครั้ง จะได้มีพอใช้ในยามฉุกเฉิน หรือตอนต้องการขอความช่วยเหลือ
เบอร์โทรฉุกเฉินสำหรับขอความช่วยเหลือ
- 1669 : บริการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ
- 1111 : ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.)
- 1784 : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)
- 1664 : สภากาชาดไทย
- 1193 : ตำรวจทางหลวง/กรมทางหลวง
- 1146 : กรมทางหลวงชนบท
- 199 : แจ้งเหตุเพลิงไหม้ อัคคีภัย
9. เสื้อชูชีพ
เสื้อชูชีพจำเป็นมากหากเกิดน้ำท่วม ควรมีให้เพียงพอกับสมาชิกในบ้าน ในพื้นที่ที่น้ำท่วมสูงและมีกระแสน้ำแรง ควรสวมใส่เสื้อชูชีพเอาไว้ตลอดเวลาเพื่อพยุงตัวป้องกันไม่ให้จมน้ำหรือเกิดฉุกเฉินโดนกระแสน้ำพัดพา
10. ถุงขยะ
ถุงขยะควรเลือกเป็นถุงดำขนาดใหญ่และหนาพิเศษ จะเหนียวและขาดยากกว่าถุงขยะประเภทอื่นๆ เอาไว้สำหรับใส่ขยะ เศษอาหาร และสิ่งปฏิกูลอื่นๆ มัดปากถุงให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันแมลงและกลิ่นเหม็นมารบกวน
11. อุปกรณ์อื่นๆ
อุปกรณ์อื่นๆ ที่ควรมี เช่น มีดพก (แบบเก็บใบมีดได้เพื่อความปลอดภัย), ที่เปิดกระป๋อง, ไฟแช็ค, ผงซักฟอก, กระดาษทิชชู่, หน้ากากอนามัย, แปรงสีฟัน, ยาสีฟัน, แป้งทาตัว, ถุงพลาสติก, รองเท้าแตะยาง, เทียนไข ฯลฯ
ขณะนี้เกิดเหตุอุทกภัยในหลายพื้นที่ ลิสต์ที่เราเตรียมมาวันนี้ สามารถจัดเป็นเซ็ทของบริจาคสำหรับผู้ประสบภัยน้ำท่วมได้เช่นกัน นอกจากนั้น ใครที่อยู่ในพื้นที่เฝ้าระวัง อย่าลืมติดตามและเช็กข่าวสารจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เผื่อมีประกาศฉุกเฉินจะได้เตรียมรับมือทันนะคะ
ช้อปของใช้ในบ้าน, อาหารแห้ง, น้ำดื่ม, หน้ากากอนามัย และของใช้จำเป็นอื่นๆ กับ OfficeMate ช้อปวันนี้เราส่งให้ฟรี!*
ดูอุปกรณ์อื่น ๆ ไว้ใช้ยามฉุกเฉินได้
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ท่วมหนักแค่ไหนก็ไม่หวั่น! กับเทคนิคทำความสะอาดบ้านหลังน้ำท่วมด้วยตัวเอง
- ไฟไหม้ต้องรับมือยังไง!? เมื่ออาศัยในคอนโดฯ สูง
- ฝุ่น PM 2.5 อันตรายใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม!
ขอบคุณข้อมูลจาก : www.cicc.chula.ac.th/images/stories/document/flood-handbook.pdf