กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เฝ้าระวังโควิดสายพันธุ์ใหม่ที่พัฒนามาจาก “โอมิครอน” สายพันธุ์ที่มีมีโอกาสหลบภูมิคุ้มกันมากสุด คือ XBB รองลงมา BQ.1.1 , BN และ BF.7 ทั้งหมดเป็นตระกูลโอมิครอน แม้แพร่เร็วแต่ไม่รุนแรง

จากการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 ในไทย ตรวจพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ XBB จำนวน 2 คน โดยรายแรกเป็นหญิงชาวต่างชาติ อายุ 60 ปี มีประวัติเดินทางมาจากต่างประเทศ ซึ่งแจ้งที่อยู่กับทางโรงพยาบาล คือ ฮ่องกง ขณะป่วยอาศัยอยู่ที่โรงแรมแห่งหนึ่ง ระหว่างกักตัวผู้ป่วยไม่มีอาการไอ ไม่มีไข้ และหายเป็นปกติแล้ว

ส่วนรายที่ 2 เป็นหญิงไทย อายุ 49 ปี อาศัยอยู่ในประเทศไทย ขณะป่วยอาศัยที่บ้าน เบื้องต้นมีประวัติเดินทางมาจากประเทศสิงคโปร์ ระหว่างกักตัวผู้ป่วยมีอาการไอ ระคายคอ ไม่มีไข้ และหายเป็นปกติแล้ว

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังพบสายพันธุ์ BF.7 ด้วย โดย 2 คนรายแรกเป็นชายชาวต่างชาติ อายุ 16 ปี อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีอาการไอ เจ็บคอเล็กน้อย

ส่วนรายที่สองเป็นหญิงไทย อายุ 62 ปี เป็นบุคลากรทางการแพทย์ อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงแต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง (กลุ่ม 608)

ขณะเดียวกัน ประเทศไทยยังพบสายพันธุ์ BN.1 จำนวน 3 คน และพบเพิ่มเติมจำนวน 7 คน แต่ยังอยู่ระหว่างนำเข้าเผยแพร่บนฐานข้อมูล GISAID ( ส่วนสายพันธุ์ BQ.1.1 ยังไม่พบรายงานในประเทศไทย ทั้งนี้ยังพบว่าสายพันธุ์ BA.5 ยังคงเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดอยู่ในไทย

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวในประเด็น การเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 ว่า สัปดาห์ที่ผ่านมาช่วงวันที่ 9-14 ต.ค.ที่ผ่านมา ทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 128 ตัวอย่าง ยังเป็นโอมิครอนสายพันธุ์ BA.4 / BA.5 เพราะหลังจากเปิดประเทศ ข้อจำกัดอาจจะลดลงและการเดินทางไปมาหาสู่ระหว่างประเทศแต่ตัวเชื้อโควิด-19 ยังมีอยู่

นพ.ศุภกิจ กล่าวอีกว่า ขณะที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ก็ยังไม่ได้เพิ่มระดับคำเตือนเรื่องการเฝ้าระวังโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ เพียงแต่พบโอมิครอนที่แตกลูกหลานและจะมีสายพันธุ์ที่ต้องอยู่ภายใต้การติดตามกำกับข้อมูลอย่างใกล้ชิด

เช่น BA.5 มีลูกหลาน เช่น BF.7 ที่เจอในประเทศไทย หรือ BF.14 BQ.1 หรือกลุ่มที่มาจากกลุ่ม BA.2.75 รวมทั้งกลุ่ม BJ.1 ซึ่งเป็น B.1.1.529.2.10.1.1 และ XBB ที่เฝ้าระวัง ส่วน BA.2.3.20 ก็เป็นตัวที่องค์การอนามัยโลกให้ประเทศต่างๆ เฝ้าระวัง

ขณะนี้มีการกลายพันธุ์ของโอมิครอนมากถึง 50 ตำแหน่ง โดยเฉพาะสไปท์ที่จับกับเซลล์ของคน และยิ่งกลายพันธุ์มากจะยิ่งเข้าไปยิ่งแพร่ง่าย เช่น แค่กลายพันธุ์ 6 ตำแหน่งจะเร็วกว่า 100% หรือมากกว่า 7% สำคัญจะมากถึง 297% ยิ่งกลายพันธุ์มากยิ่งทำให้การแพร่และติดเชื้อ

ถึงแม้ว่าโควิดจะอยู่กับเรามานาน แต่ก็ยังไม่สามารถทำให้โรคนี้หมดไปหรือกลับมาใช้ชีวิตแบบเดิมโดยที่ไม่ต้องใส่หน้ากากได้ ถือเป็นวิกฤติด้านสุขภาพครั้งใหญ่ มีการระบาดในวงกว้าง และลุกลามไปทั่วทุกภูมิภาคของโลก เพื่อความปลอดภัยของตัวเอง และผู้อื่น เราสามารถป้องกันการติดเชื้อโควิด19 ด้วยการปฏิบัติตัวตามมาตรการป้องกันโควิด19 ดังต่อไปนี้

สวมหน้ากากอนามัย หรือหน้ากากผ้าทุกครั้งที่ต้องพบปะผู้คน เมื่อต้องออกจากบ้าน หรืออยู่ในพื้นที่แออัด เพื่อป้องกันเชื้อโรคจากคนอื่นมาติดเรา หรือเมื่อท่านมีอาการป่วย เพื่อป้องกันเชื้อโรคจากเรา ที่อาจจะไปติดผู้อื่นได้


ล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหาร ก่อนสัมผัสบริเวณใบหน้า ตา จมูก ปาก หลังเข้าห้องน้ำ หลังปิดปาก เมื่อไอ จาม โดยควรล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้ถูกวิธี โดยใช้เวลาในการล้างมืออย่างน้อย 20 วินาที หรือล้างมือด้วยแอลกอฮอล์เจล


หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า ปาก จมูก ตา หู หากยังไม่ได้ล้างมือ เพราะอาจจะทำให้เชื้อโรคโควิด19 เข้าสู่ร่างกายได้


หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนแออัด ควรเว้นระยะห่างจากผู้อื่น 1-2 เมตร

ทำความสะอาดเครื่องใช้ อุปกรณ์ภายในบ้าน หรือที่ทำงาน รวมถึงจุดสัมผัสต่าง ๆ ที่มีการสัมผัสร่วมกันกับผู้อื่นบ่อยๆ

ถ้าคุณไปอยู่ในพื้นที่เสี่ยงหรือเป็นคนกลุ่มเสี่ยงนั้น สามารถเช็คอาการตัวเองได้ง่ายๆด้วย การตรวจหาเชื้อโควิดด้วยตนเอง หรือ ATK หรือถ้ามีอาการร้ายแรงควรไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจอย่างละเอียดและรับการรักษาอย่างใกล้ชิด

ช้อปอุปกรณ์ป้องกันโควิดออนไลน์ได้แล้ววันนี้ พร้อมโปรโมชั่นต่างๆมากมาย ส่งฟรีถึงบ้านคุณ ได้ที่ OfficeMate