จากรายงานข่าว สำนักงานปรมาณูได้รับแจ้งเหตุกรณีวัสดุกัมมันตรังสีสูญหายจากสถานประกอบการทางรังสีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม 304 อ. ศรีมหาโพธิ จ. ปราจีนบุรี ก่อนจะมีการแถลงข่าวเรื่องวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 สูญหายต่อมา

กรณีดังกล่าวทำให้ผู้คนตระหนักถึงอันตรายจากสารเคมีที่ใกล้ตัวมากยิ่งขึ้น แต่หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่าซีเซียม-137 มีผลเสียร้ายแรงอย่างไรเมื่อได้รับเข้าสู่ร่างกาย และแนวทางการป้องกันเมื่อซีเซียมเกิดการฟุ้งกระจาย 

บทความนี้ OfficeMate มีคำแนะนำดี ๆ มาฝาก เพื่อทำความเข้าใจ และร่วมกันส่งต่อแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องให้กับเพื่อน ๆ กัน

ทำความรู้จัก! ซีเซียม 137 คืออะไร

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ระบุว่า ซีเซียม-137 (Caesium-137) มีค่าครึ่งชีวิต 30.08 ปี มีลักษณะเป็นของแข็งคล้ายผงเกลือ สามารถฟุ้งกระจายได้เมื่อแตกออกจากแคปซูลที่ห่อหุ้มไว้ โดยมีกลไกการสลายตัวแบบบีตา และแกมมาก่อนกลายสภาพไปเป็นธาตุแบเรียม-137 (Ba-137)

ประโยชน์คือสามารถนำไปใช้ในโรงงานได้ และยังเป็นเครื่องมือทางการแพทย์เพื่อรักษาโรคมะเร็งอีกด้วย

จะเป็นอย่างไรเมื่อ ซีเซียม 137 เข้าสู่ร่างกาย

ผู้ที่สัมผัสกับผงซีเซียม-137 นั้น อาจได้รับซีเซียม-137 เข้าไปในร่างกายได้หลายช่องทาง

  • ผ่านทางผิวหนังที่มีบาดแผล 
  • ผ่านสูดดม หรือการหายใจ 
  • ผ่านการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อน

เมื่อ ซีเซียม เข้าสู่ร่างกายจะไปสะสมอยู่ในเนื้อเยื่ออ่อน (SOFT TISSUE) ของอวัยวะต่าง ๆ และแผ่รังสีให้แก่อวัยวะเหล่านี้ ผลเสียต่อมาคือความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งของอวัยวะที่ซีเซียม-137 นั้นเข้าไปสะสมอยู่ ซึ่งหากได้รับการแผ่รังสีเป็นระยะเวลาสั้น ๆ จะไม่ส่งผลให้เกิดอันตรายที่เห็นผลชัดเจนในทันที

แต่ในกรณีที่ได้รับปริมาณรังสีต่อเนื่องเป็นปี อาจทำให้มีอาการผิวหนังแสบร้อน มีผื่นแดงคล้ายน้ำร้อนลวกหรือโดนไฟไหม้ และอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ ส่วนใครที่มีอาการ ไข้ขึ้น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ถ่ายเหลวกว่า 2 ครั้ง หนาวสั่น ผิวหนังพุพอง มีเลือกออกที่ใดที่หนึ่งภายใน 7 วันหลังโดนรังสี หรือมีอาการชักเกร็ง ให้รีบพบแพทย์ และแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยด่วน หรือติดต่อสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422

แนวทางป้องกันสารเคมี หรือ ซีเซียม เข้าสู่ร่างกาย

OfficeMate แนะนำว่าควรศึกษาแนวทางการป้องกันสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย ไม่ต้องรอให้เสี่ยง หรือสัมผัสกับสารกัมมันตรังสีเสียก่อน ทั้งนี้ ไม่เพียงแต่ ซีเซียม-137 เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงสารเคมีชนิดอื่น ๆ ที่อยู่ในโรงงานด้วยเช่นกัน โดยมีแนวทางดังนี้

  1. ควรสวมใส่ชุดหรือใช้ อุปกรณ์โรงงานได้มาตรฐาน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยขณะปฏิบัติงาน
  2. ควรเปลี่ยนหน้ากากกันสารเคมี อย่างน้อย 8 ชม. ไม่ควรปล่อยให้ประสิทธิภาพการหายใจลดลง รวมถึงชุดอุปกรณ์เซฟตี้อื่น ๆ ด้วย เช่น รองเท้านิรภัย ชุดหมี แว่นตานิรภัย เป็นต้น
  3. ควรทำความสะอาด หรือฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทุกครั้งหลังใช้เสร็จ
ทำความรู้จักซีเซียม_หน้ากากกันสารเคมี_OfficeMate

สำหรับผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง สามารถทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจได้รับการแผ่รังสีจาก ซีเซียม เข้าสู่ร่างกาย

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารกัมมันตรังสี หรือกล่องเหล็กต้องสงสัย  และห้ามสูบบุหรี่ในพื้นที่เสี่ยง
  2. ไปลงทะเบียนผู้สัมผัสสารกัมมันตรังสียังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  3. ควรล้างมือทุกครั้งก่อนรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำ
  4. ลดการปนเปื้อนโดยอาบน้ำ สระผม ล้างตาให้น้ำไหลผ่านจากหัวตาไปหางตา และเปลี่ยนเสื้อผ้าทันที
  5. รวบรวมสิ่งของหรือเสื้อผ้าที่คาดว่าอาจมีการปนเปื้อนของสารกัมมันตรังสี แล้วส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบ
  6. ติดตามข้อมูลสถานการณ์ และปฏิบัติตามประกาศอย่างเคร่งครัด

OfficeMate หวังว่าเจ้าหน้าที่จะเจอซีเซียม-137 ได้ในเร็ววัน และไม่มีผู้ใดได้รับบาดเจ็บ หรือผลกระทบจากวัตถุอันตรายชิ้นนี้ แต่หากคุณพบเห็นวัตถุต้องสงสัย หรือวัสดุที่มีลักษณะคล้ายซีเซียม-137 โปรดหลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือใกล้ชิด และควรรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือสายด่วนแจ้งเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีที่เบอร์ 1296

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง: สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ, กรมควบคุมโรค และศูนย์รักษาพิษสารเคมีอันตรายภาคตะวันออก