การเริ่มต้นธุรกิจ SME แค่เพียงไอเดียอาจจะไม่เพียงพอ เพราะต้องอาศัยศิลปะของการบริหาร ประกอบกับประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจเข้ามาช่วย สำหรับผู้เริ่มต้น อาจจะต้องทำความเข้าใจถึงปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความแตกต่างระหว่าง SME กับ Startup แนวทางในการเริ่มต้นธุรกิจขนาดย่อม หรือการขอสินเชื่อ SME เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินธุรกิจ ซึ่ง OfficeMate ได้รวมเอาแนวทางมาให้กับเหล่าผู้ประกอบการหน้าใหม่ในบทความนี้แล้ว มาดูกัน

สินเชื่อ_ธุรกิจ_SME_1_OfficeMate

ความแตกต่างระหว่าง SME กับ Startup

ในยุคหนึ่งเรามักจะได้ยินสองคำนี้ควบคู่กันมา จนทำให้คิดว่า SME ก็คงไม่ต่างจาก Startup แต่ความจริงแล้วธุรกิจสองอย่างนี้มีรายละเอียด และมิติการดำเนินงานที่แตกต่างกัน ตั้งแต่ขนาดของธุรกิจที่ SME จะมีขนาดใหญ่กว่าเมื่อเทียบกัน รวมถึงแนวคิดที่จะเน้นด้านการต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ มากกว่าการสร้างเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ ๆ แบบ Startup แม้จะดูเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ แต่ผู้ประกอบการหลายคนอาจไม่ได้มีองค์ความรู้ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นหลัก SME จึงถือเป็นการนำเอาเทคโนโลยีมาช่วยในการพัฒนาสินค้า และจัดการบริหารงานเพียงเท่านั้น

แนวทางการเริ่มต้นธุรกิจ SME

การเริ่มต้นนั้นยากเสมอแต่หากมีกระบวนการคิดอย่างเป็นลำดับขั้นตอน ก็อาจจะทำให้แผนการเริ่มต้นธุรกิจ SME ของผู้ประกอบการหน้าใหม่ทั้งหลาย ดูมีจุดหมายปลายทางมากยิ่งขึ้น โดยอาศัยหรือหยิบเอาแนวทางเหล่านี้มาประยุกต์ใช้

1. มีไอเดียในการสร้างผลิตภัณฑ์

หนึ่งในปัจจัยตั้งต้นของการทำธุรกิจ คือ เราจะขายผลิตภัณฑ์อะไร? ผู้ประกอบการ ต้องมีไอเดีย และรู้ว่าจะเริ่มต้นด้วยการขายสินค้าหรือบริการแบบไหน อีกส่วนสำคัญคือชื่อของบริษัท และผลิตภัณฑ์ที่มีความสอดคล้อง กระชับ สะดุดตา จดจำได้ง่าย และมองภาพถึงอนาคตที่มีความเติบโตมากขึ้น

2. เขียนแผนการตลาดและการเงิน

มีการทำแผนธุรกิจเพื่อให้เห็นการดำเนินงานอย่างเป็นลำดับขั้นตอน จนถึงการวิเคราะห์คู่แข่ง ข้อดีข้อเสียของผลิตภัณฑ์ที่จะทำการขาย โดยอาจมองหาฟีดแบ็กได้จากคนใกล้ตัวหรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อนำมาปรับปรุงให้ดีขึ้น ส่วนด้านการเงิน แน่นอนว่าการลงทุนใด ๆ ก็ตามนั้น มาพร้อมความเสี่ยง การมีแผนรองรับด้านการเงินสำหรับธุรกิจ จึงเป็นจุดที่ต้องให้ความสำคัญ ซึ่งการวางแผนธุรกิจที่ดี จะช่วยให้มีศักยภาพในการขอสินเชื่อ SME จากสถาบันการเงินต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น

3. ศึกษาข้อมูลรอบด้าน

การประกอบธุรกิจ SME ยังมีส่วนของรายละเอียดที่เกี่ยวโยงกับกฎหมายที่ผู้ประกอบการต้องทราบหลายเรื่อง อาทิเรื่องเอกสารการจัดตั้งบริษัทเพื่อทำธุรกิจและภาษี จนถึงการจัดสรรบัญชี งบการเงินต่าง ๆ ที่ไม่ควรใช้ร่วมกับบัญชีส่วนตัว อีกมุมหนึ่งในแง่การประกอบธุรกิจ การพิจารณาถึงพื้นที่ ๆ เหมาะสมสำหรับการขายผลิตภัณฑ์ หรือมีการล้อไปกับกระแสปัจจุบัน นับว่าเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องคอยติดตามกระแสในปัจจุบันด้วยเช่นกัน

สินเชื่อ_ธุรกิจ_SME_2_OfficeMate

4 ขั้นตอน ขอสินเชื่อ SME

การขอสินเชื่อ SME เป็นการยื่นขอเงินลงทุนกับสถาบันการเงินต่าง ๆ เพื่อนำมาเริ่มต้นหรือต่อยอดธุรกิจที่กำลังวางแผนไว้ โดยมีขั้นตอนในการเตรียมความพร้อมดังนี้

1. จดทะเบียนการค้าถูกต้องตามกฎหมาย

ธุรกิจต้องมีการจดทะเบียนพาณิชย์ การจดทะเบียนนิติบุคคล เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด เพื่อเป็นการยืนยันว่าธุรกิจ SME นี้มีการดำเนินอยู่จริง และเสียภาษีถูกต้องตามกฎหมาย

2. จัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

จัดทำบัญชีอย่างสม่ำเสมอ ทั้งบัญชีที่เกี่ยวกับยอดขาย ต้นทุน ค่าใช้จ่าย การสต๊อกสินค้า เจ้าหนี้การค้า ลูกหนี้การค้า เพื่อเป็นหลักฐานให้ธนาคารตรวจสอบว่ามีแหล่งรายรับ-รายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจ

3. มีประวัติการจ่ายหนี้ที่ดี

การมีประวัติการใช้จ่ายที่ดี จะยิ่งเป็นการสร้างเครดิตให้กับสถาบันการเงิน โดยเฉพาะการจ่ายหนี้ตรงเวลา ไม่มีประวัติเครดิตบูโร เพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ

4. ขอสินเชื่อให้เหมาะกับธุรกิจตัวเอง

ผู้กู้ต้องพิจารณาความสามารถในการชำระเงินแก่ธนาคาร ซึ่งพิจารณาจากรายได้ ภาระหนี้สิน ค่าใช้จ่าย ดังนั้นก่อนคิดจะกู้เงิน ผู้ที่อยากได้เงินลงทุนสักก้อนควรจะวางแผนการชำระหนี้ให้ดีเพื่อเตรียมความพร้อมในการชำระเงิน ที่สำคัญไม่ควรกู้เงินเกินความจำเป็น เพราะอย่าลืมว่ามีค่าใช้จ่ายสำหรับดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายคืนธนาคาร

สินเชื่อ_ธุรกิจ_SME_3_OfficeMate

สำหรับเหล่าผู้ประกอบการ การเริ่มต้นธุรกิจใหม่ไม่ว่าจะเป็นขนาดใหญ่หรือขนาดย่อม ก็ต้องมาพร้อมกับข้าวของเครื่องใช้สำนักงาน อุปกรณ์ไอที หรือเฟอร์นิเจอร์ เพราะถือเป็นเครื่องมือในการช่วยดำเนินธุรกิจ ซึ่งอาจไม่ต้องไปมองหาที่ไหนไกล เพราะ OfficeMate จัดเอาอุปกรณ์สำนักงานแบรนด์ดังมาร่วมโปรโมชั่นอย่างคับคั่ง พร้อมรับดีลพิเศษและส่วนลดอีกมากมาย ตอบรับกับผู้ประกอบการหน้าใหม่ที่กำลังจะเริ่มต้นธุรกิจหรือทำออฟฟิศเป็นของตัวเอง

บทความที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง : aommoney, ธนาคารออมสิน และ ธนาคารกรุงศรี