ในบรรดาบริการส่งอาหารมากมายหลากหลาย หากคุณเป็นร้านอาหารที่อยากลองเข้าร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ในธุรกิจอาหารเดลิเวอรีนี้ ‘Gojek’ เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการฟู้ดเดลิเวอรีที่คุณไม่ควรมองข้าม

จาก GET สู่ Gojek แอปฯ ส่งอาหารมาแรงจากอินโดนีเซีย

คนไทยเราอาจคุ้นเคยกับแอปพลิเคชั่น GET มากกว่า Gojek แต่อันที่จริงแล้ว GET เป็นเพียงแอปพลิเคชั่น หรือบริการส่งอาหารชิมลางของ Gojek เท่านั้น!

Gojek คือแอป Ride Hailing ยักษ์ใหญ่จากประเทศอินโดนีเซีย แต่หากจะใช้ชื่อว่า Gojek บุกตลาดไทยตั้งแต่เริ่มต้น อาจจะทำให้ภาพลักษณ์ของแบรนด์เสียหายได้ถ้าไม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้น เพื่อสำรวจตลาดและหาความเป็นไปได้ของการแข่งขันในธุรกิจนี้ Gojek จึงส่ง GET มาลงสนามแทน

gojek

ซึ่ง GET นั้นถือว่าไปได้ดีในตลาดฟู้ดเดลิเวอรี่ เพียง 1 ปีกว่าๆ GET สามารถส่งอาหารได้กว่า 20 ล้านออเดอร์ มีพาร์ทเนอร์ร้านอาหารกว่า 30,000 ร้าน และยอดดาวน์โหลดแอปฯ รวมทั้งสิ้น 3 ล้านดาวน์โหลด ด้วยการเติบโตอย่างรวดเร็วนี้เอง GET จึงรีแบรนด์เปลี่ยนชื่อเป็น Gojek อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563 เพื่อลงสู่สังเวียนฟู้ดเดลิเวอรีแบบเต็มตัว

แม้การรีแบรนด์จะมีความท้าทายที่ต้องสร้าง Brand Awareness ขึ้นมาใหม่ แต่เพียงปีกว่าๆ ที่ผู้บริหารและทีมงาน สามารถพา GET ให้เป็นที่รู้จักและเติบโตแบบพุ่งทะยานได้ การจะพาให้ Gojek กลายเป็นแอปส่งอาหารเบอร์ต้นๆ ก็คงไม่ใช่เรื่องยากอย่างแน่นอน นี้จึงเป็นเหตุผลที่ร้านอาหารไม่ควรมองข้าม Gojek นั่นเองค่ะ

gojek

ไม่เพียงแต่ Gojek เท่านั้น ร้านอาหารยังไม่ควรมองข้ามบริการฟู้ดเดลิเวอรีอื่นๆ ด้วยเช่นกัน

เพราะบริการฟู้ดเดลิเวอรีช่วยเพิ่มยอดขายให้ร้านอาหารได้

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า บริการสั่งอาหารผ่านแอปส่งอาหารในปีที่ผ่านมา (2562) มีมูลค่าสูงถึง 35,000 ล้านบาท ทั้งยังมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นในช่วงที่เกิดโรคระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ยังทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป คนกรุงเทพส่วนใหญ่หันมาใช้บริการสั่งอาหารผ่านแอปฯ กันมากขึ้น และด้วยความสะดวกสบาย มีอาหารร้อนๆ ส่งตรงถึงหน้าบ้านนี้เองก็ยังจะสามารถทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมแบบถาวร หันมาใช้บริการฟู้ดเดลิเวอรีแทนการออกไปซื้ออาหารจากหน้าร้านในระยะยาวได้อีกด้วย

gojek

เมื่อพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป แต่หากเรายังขายอาหารเพียงหน้าร้านอยู่เหมือนเดิม ก็อาจจะโดนร้านอาหารเจ้าอื่นแย่งลูกค้าไปได้ นี้จึงเป็นเหตุผลที่ร้านอาหารไม่ควรมองข้ามบริการเดิลเวอรี นอกจากนั้น การมีลูกค้าสำรองไว้ในระบบเดลิเวอรี ยังปลอดภัยในยามเกิดวิกฤต หรือมีเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ทำให้ลูกค้าไม่สามารถมาซื้ออาหารด้วยตัวเองได้ เราก็ไม่ต้องกลัวว่ายอดขายจะตกเพราะฐานลูกค้าในระบบเดลิเวอรียังสามารถสั่งอาหารของเราผ่านแอปฯ ได้นั่นเอง

บริการฟู้ดเดลิเวอรี ยังจะช่วยให้ร้านอาหารแบบเราๆ ลดต้นทุนการตลาดลงไปได้ เพราะร้านจะได้รับการโปรโมทจากผู้ให้บริการไปในตัว และได้ลูกค้าผ่านช่องทางออนไลน์โดยที่แทบจะไม่ต้องลงทุนโปรโมทกับสื่ออื่น และไม่ต้องลงแรงในการคิดคอนเทนต์โปรโมทร้านด้วยตัวเองอีกด้วย

รู้แบบนี้แล้ว อย่ารอช้า เตรียม Packaging ให้พร้อม แล้วเข้าร่วมเป็นหนึ่งในพาร์ทเนอร์ร้านอาหารของบริการฟู้ดเดลิเวอรี เปลี่ยนร้านอาหารของคุณให้ตอบโจทย์พฤติกรรมผู้บริโภค รอรับยอดออเดอร์ปังๆ กันเลย!!

ทั้งนี้ทั้งนั้น ในปัจจุบันนี้สงครามฟู้ดเดลิเวอรีในไทยดุเดือดขึ้นกว่าเดิมมาก  ก่อนจะเลือกเข้าร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับเจ้าไหน อย่าลืมศึกษาหาข้อมูลให้ดีด้วยนะคะ ส่วนถ้าถามถึงผู้เล่นเบอร์ต้นๆ ในสังเวียนนี้แล้วล่ะก็ ‘Grab’ ที่มีบริการ Grab food ถือว่ามาแรงไม่หยุด นับตั้งแต่เปิดตัวในปี 2018 ด้วยยอดผู้ดาวน์โหลดแอปฯ กว่า 14 ล้านดาวน์โหลด ร้านอาหารในระบบกว่า 80,000 ร้าน ทั้งยังกระจายตัวพร้อมส่งอาหารในอีกกว่า 33 จังหวัด 

grab

ด้วยความหลากหลายของร้านอาหารที่เป็นพาร์ทเนอร์ ค่าส่งที่เริ่มต้นเพียง 10 บาท ช่องทางการจ่ายเงินที่หลากหลาย รวมถึงโปรโมชั่นลดแลกแจกแถมที่วนเวียนมาตลอดนี้เอง ที่ช่วยดึงดูดลูกค้าได้มากมาย ซึ่งจะทำให้ร้านอาหารของคุณมีโอกาสได้ผ่านตาลูกค้ามากกว่านั่นเอง

สมัครเป็นพาร์ทเนอร์ร้านอาหารกับ Grab คลิกเลย! Grab Food

ขอบคุณข้อมูลจาก : Wongnai / Marketeeronline