ถ้าถามว่าธุรกิจที่มาแรงที่สุดในตอนนี้คืออะไร คำตอบก็คงหนีไม่พ้น ธุรกิจ Food delivery หรือธุรกิจอาหารออนไลน์ ที่ถือเป็นดาวรุ่งในวงการสินค้าออนไลน์ที่เติบโตอย่างพุ่งพรวดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และยิ่งทำเม็ดเงินได้อีกมหาศาลในช่วงที่ผู้คนกักตัว หลบหนีเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่ไม่ใช่ว่าร้านอาหารทุกเจ้าจะสามารถทำเงินมหาศาลจากการเปิดช่องทางเดลิเวอรี่ เพราะการขายอาหารออนไลน์ก็มีรายละเอียดปลีกย่อยที่ควรรู้ไม่ต่างจากการทำร้านอาหารทั่วไป ถ้าอยากรู้ว่ารายละเอียดเหล่านั้นมีอะไรบ้าง ออฟฟิศเมทรวบรวมมาเป็นคัมภีร์ Food delivery ให้คุณแล้วค่ะ
5 สิ่งที่ต้องรู้ก่อนทำธุรกิจขายอาหารออนไลน์
ศึกษากลุ่มลูกค้าของร้านขายอาหารออนไลน์
หัวใจหลักของการทำธุรกิจ ก็คือ กลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้า จากสถิติ กลุ่มลูกค้าที่สั่งซื้ออาหารออนไลน์ส่วนใหญ่ 70% เป็นเพศหญิง และอยู่ในช่วงอายุ 20-37 ปี (กลุ่ม Gen Y) ซึ่งพฤติกรรมของกลุ่มคนเหล่านี้ มักจะชอบหาข้อมูลและอ่านรีวิวก่อนตัดสินใจซื้อ เป็นกลุ่มคนที่กล้าลองเมนูใหม่ๆ แต่มักใจร้อน ไม่ชอบรอนาน
ดังนั้น ก่อนเปิดร้านขายอาหารออนไลน์หรือส่งร้านอาหารของตัวเองเข้าสู่ช่องทางเดลิเวอรี อันดับแรกคุณต้องรู้ก่อนว่าลูกค้าของคุณคือใคร และมีความต้องการแบบไหน ถ้าคุณมีร้านอาหารของตัวเองอยู่แล้ว แต่อยากส่งร้านของคุณเข้าสู่บริการเดลิเวอรี ให้คุณสังเกตกลุ่มลูกค้าที่มาใช้บริการภายในร้าน หากส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ร้านของคุณอาจไม่เหมาะกับการทำเดลิเวอรี แต่สำหรับคนที่อยากเริ่มต้นขายอาหารออนไลน์ เราแนะนำให้ยึดกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มลูกค้า Gen Y ที่ชื่นชอบการสั่งฟู้ดเดลิเวอรี แล้วหาทางผลิตสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์กลุ่มคนเหล่านี้ รับรองว่าการขายอาหารออนไลน์ของคุณจะปังแน่นอนค่ะ
ศึกษาเมนูขายดีของธุรกิจขายอาหารออนไลน์ แล้วทำให้แตกต่าง
เมนูอาหารขายดี ที่คนมักสั่งเดลิเวอรีกัน ได้แก่
เมนูข้าวกล่องแบบพร้อมทาน
เมนูดอง เช่น ปูดอง ไข่ดองน้ำปลา
อาหารเซต เช่น ซูชิ ไก่ทอดเกาหลี ฯลฯ
น้ำพริกและอาหารแห้ง เช่น หมูหยอง หมูฝอย ทุเรียนทอด
อาหารคลีน ขนมคลีน
เบเกอรี เช่น เค้ก คุ้กกี้ ขนมเปี๊ยะ เซตขนมไทย
ชานมไข่มุก
จากที่เห็น ดูเหมือนธุรกิจอาหารออนไลน์ จะกลายเป็นตลาดที่ใหญ่พอสมควรในปัจจุบัน เพราะมีเมนูหลากหลาย และร้านอาหารเจ้าดังหรือร้านอาหารเก่าแก่ เช่น ขนมปังอร่อยเด็ดเยาวราช โจ๊กสามย่าน และอีกมากมาย ต่างก็พากันเปิดช่องทางเดลิเวอรีเช่นกัน ซึ่งหากคุณเป็นมือใหม่ที่อยากขายอาหารออนไลน์ คุณต้องคำนึงถึงเอกลักษณ์และความแตกต่างเป็นสำคัญ เช่น ถ้าอยากขายข้าวขาหมูแบบเดลิเวอรี คุณต้องทำให้ข้าวขาหมูของคุณอร่อยกว่าข้าวขาหมูที่ร้านหน้าปากซอยของลูกค้าให้ได้ แล้วการรีวิวหรือปากต่อปากก็จะตามมา ทีนี้ส่วนแบ่งทางการตลาดก็อยู่ไม่ไกลแล้วล่ะค่ะ
ช่องทางการขายอาหารออนไลน์และการจัดส่ง ต้องสะดวกและรวดเร็ว
สำหรับช่องทางการขายอาหารออนไลน์ แบบแรก คือเป็นทั้งผู้ผลิตและผู้จัดส่ง คุณต้องเตรียมช่องทางการสื่อสารกับลูกค้า ไม่ว่าจะทางโทรศัพท์ Line Facebook Instagram หรือเว็บไซต์ ซึ่งควรมีพนักงานประจำตำแหน่งคอยแสตนบายรับออเดอร์และตอบคำถามของลูกค้าตลอดเวลา และควรมีพนักงานส่งอาหารเป็นของตัวเอง ช่องทางการขายรูปแบบนี้เหมาะสำหรับร้านค้าที่ลูกค้ายังไม่เยอะ รับออเดอร์แต่ละวันไม่มาก หรือไม่อย่างนั้นก็ต้องเป็นร้านอาหารที่มีเงินทุนพอสมควร เพราะต้องใช้เงินลงทุนและจัดการทุกอย่างด้วยตัวเองทั้งหมด ไม่เช่นนั้นอาจรับออเดอร์ไม่ครบ ขาดตกบกพร่อง ส่งอาหารช้า จะทำให้ลูกค้าพากันส่ายหน้าหนีได้ค่ะ
อีกแบบหนึ่งคือ การนำร้านอาหารเข้าร่วมกับบริษัท Delivery เช่น Line Man, Food panda, Grab food, Get Food, Lalamove ฯลฯ ข้อดีของการเข้าร่วม คือ คุณไม่จำเป็นต้องโปรโมทร้านด้วยตัวเอง ไม่ต้องรับออเดอร์ลูกค้าและจัดส่งของด้วยตัวเอง เพราะบริษัทเดลิเวอรีจะทำหน้าที่รับออเดอร์และจัดส่งให้เสร็จสรรพ ซึ่งช่องทางนี้ก็นับเป็นช่องทางที่ลูกค้าส่วนใหญ่ใช้สั่งอาหารออนไลน์กันอีกด้วยค่ะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก่อนเข้าร่วมกับบริษัทเดลิเวอรีใดๆ เราแนะนำให้คุณศึกษาเงื่อนไขและดูเปอร์เซ็นต์หรือค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่ต้องจ่ายให้ดี จะได้ไม่มีปัญหาในภายหลังค่ะ
ขายอาหารออนไลน์ให้ได้ดี ต้องใส่ใจรูปแบบบรรจุภัณฑ์และภาพถ่ายอาหาร
หน้าตาของอาหารสำคัญไม่แพ้กับรสชาติ ยิ่งการขายอาหารผ่านออนไลน์ รูปภาพอาหารที่ใช้โปรโมทยิ่งต้องถ่ายให้ดูน่ากิน เพื่อดึงดูดใจและทำให้ลูกค้าสะดุดตา อีกหนึ่งอย่างที่ต้องให้ความสำคัญ คือบรรจุภัณฑ์ ต้องดูดี ออกแบบให้สวย สะอาด อย่าลืมติดโลโก้ร้าน และแพ็คไปอย่างมิดชิด อาหารจะได้ไม่หกเลอะเทอะก่อนไปถึงมือลูกค้า และอย่าลืมนึกถึงดีเทลเล็กๆ น้อย อย่างถ้วยใส่น้ำจิ้ม ช้อน ส้อม หรือตะเกียบ เพื่ออำนวยความสะดวก เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ที่ใช้บริการเดลิเวอรี ก็ต้องการความสะดวกสบายนั่นเองค่ะ
อ่านบทความเพิ่มเติม :
เทคนิค เลือกบรรจุภัณฑ์อาหารเดลิเวอรี ให้ลูกค้าติดใจกลับมาออร์เดอร์ซ้ำ!
เทรนด์บรรจุภัณฑ์มาแรงปี 2021 ฉบับเอาชนะใจลูกค้า
การตั้งราคาและรูปแบบการชำระเงิน
แน่นอนว่าราคาอาหารควรเหมาะสมกับคุณภาพและวัตถุดิบที่ใช้ แต่การขายอาหารออนไลน์จะมีค่าจัดส่งที่เพิ่มเข้ามา ซึ่งค่าจัดส่งเมื่อรวมกับค่าอาหารแล้วไม่ควรแพงกว่าการที่ลูกค้าออกจากบ้านไปซื้อด้วยตัวเอง ส่วนการชำระเงินมีทั้งแบบโอนเงิน ตัดบัตรเครดิต และแบบเก็บเงินปลายทาง ซึ่งมีผลสำรวจออกมาว่าผู้บริโภคที่สั่งอาหารผ่านบริการเดลิเวอรีส่วนใหญ่จะชอบการชำระเงินแบบเก็บเงินปลายทางมากที่สุด ด้วยเหตุผลที่ว่าสะดวก และมั่นใจว่าจะได้อาหารมาทานแน่นอนนั่นเองค่ะ
นี่คือทั้งหมดของคัมภีร์ Food delivery ที่รวบรวมสิ่งที่คุณควรรู้ก่อนจะเปิดร้านขายอาหารออนไลน์ ใครที่กำลังอยากเริ่มต้นเปิดศึกเพื่อช่วงชิงยอดขายอาหารออนไลน์ อย่าลืมศึกษาทุกอย่างและคิดให้รอบคอบตามคัมภีร์ที่เราแนะนำไปนะคะ
สุดท้ายนี้ ออฟฟิศเมทของเรามีบรรจุภัณฑ์อาหารที่ทำจากวัสดุคุณภาพดี ฝาปิดแน่นหนา เพื่อธุรกิจร้านอาหารและธุรกิจขายอาหารออนไลน์ พร้อมให้คุณมาช้อปบนเว็บไซต์ของเรา แถมสั่งวันนี้ มีบริการส่งฟรีแบบไม่มีขั้นต่ำ พ่อค้าแม่ค้าทั้งหลาย อย่ารอช้า เข้ามาช้อปกันเลยย! ที่ร้านค้า OfficeMate
อ่านบทความเพิ่มเติม : Check list ไอเทมสำหรับคนอยากเปิดร้านอาหาร อยากเปิดร้านแล้วปังต้องมี!