เคล็ดลับสำคัญของอาหารเดลิเวอรี่ที่จะมัดใจและทำให้ลูกค้าสั่งแล้วสั่งซ้ำ นอกจากรสชาติอาหารที่อร่อยแล้ว ก็ยังขึ้นอยู่กับวิธีการแพ็คและหีบห่อของอาหาร หากอาหารที่มาส่ง หกเลอะเทอะ รั่วซึม จนเสียรสชาติ คงไม่มีใครอยากกลับมาสั่งซ้ำ แถมยังอาจโดนคอมเพลนอีกด้วย ว่าแล้วก็ไปดูกลเม็ดวิธีการเลือกบรรจุภัณฑ์ และ การแพ็คอาหาร ให้แน่นหนาแถมหน้าตาน่าทานไม่เสียรสชาติ จนออร์เดอร์เข้ารัวๆ กันดีกว่าค่ะ

เทคนิคเลือกบรรจุภัณฑ์อาหารเดลิเวอรี

สิ่งสำคัญหลักๆ ที่ต้องคำนึงถึงในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์อาหารสำหรับบริการเดลิเวอรี คือ คุณภาพ ความแน่นหนา และดีไซน์ที่สวยงาม แต่มีอีก 4 อย่าง ที่ OfficeMate แนะนำว่าร้านอาหารไม่ควรมองข้าม มีอะไรบ้าง? ไปดูกัน

เลือกบรรจุภัณฑ์ โดยคำนึงถึงการเดินทางของอาหาร

การเลือกบรรจุภัณฑ์ใส่อาหารสำหรับเดลิเวอรี่ นอกจากดีไซน์ และความสวยงามแล้ว ร้านอาหารควรคำนึงถึงเส้นทางของอาหารที่เริ่มต้นตั้งแต่ที่ร้านจนไปถึงมือลูกค้า เช่น 

บรรจุภัณฑ์อาหาร

อาหารออกจากร้าน → คนขับมารับอาหาร → ขนส่ง → ลูกค้ารับอาหาร → เปิดกล่องทานได้ทันที / ต้องอุ่นในไมโครเวฟ

ซึ่งการเดินทางของอาหารจะแตกต่างกันไปตามแต่ละเมนู หากอาหารของเราสามารถเปิดกล่องทานได้ทันที อาจเลือกเป็นบรรจุภัณฑ์แบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง หรือถ้าอาหารต้องอุ่นในไมโครเวฟก่อนทาน ก็ควรเลือกเป็นบรรจุภัณฑ์ที่สามารถเข้าไมโครเวฟได้เลย โดยที่ลูกค้าไม่ต้องเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์อันใหม่ เป็นต้น

เลือกบรรจุภัณฑ์ที่ช่วยให้ลูกค้ามือสะอาดอยู่เสมอ

บรรจุภัณฑ์อาหารที่ออกจากร้านไปถึงมือลูกค้า ควรสะอาด ไม่มีคราบมัน เมื่อลูกค้าหยิบจับแล้วมือยังสะอาดอยู่เสมอ ไม่ต้องเปลืองกระดาษทิชชู่ หรือเดินไปล้างมือหลายๆ รอบ ตั้งแต่ยังไม่ทันได้ทาน เป็นการสร้างความไม่สะดวกให้กับลูกค้า อาจจะดูเป็นเรื่องเล็กๆ แต่ถ้าร้านอาหารใส่ใจ รับรองว่าจะได้ผลตอบแทนที่ยิ่งใหญ่กลับมาแน่นอน อย่ามองข้ามเลยนะคะ

เลือกบรรจุภัณฑ์ที่แพ็คง่าย เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว

นอกจากคำนึงถึงลูกค้าแล้ว ความสะดวกตอนพนักงานบรรจุอาหารลงกล่องก็สำคัญ ควรเลือกเป็นบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ต้องประกอบเองหรือดัดแปลงเยอะ เน้นที่แน่นหนา และบรรจุได้ง่าย จะช่วยลดเวลาการทำงานลงได้ และควรเป็นบรรจุภัณฑ์ที่หาซื้อได้ง่าย มีให้ใช้ตลอดเวลา ไม่ขาดตลาด ก็จะช่วยควบคุมต้นทุนให้คงที่ และไม่ต้องเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์บ่อยๆ เพราะอาจทำให้เกิดความผิดพลาดจากความไม่เคยชินได้นั่นเอง

บรรจุภัณฑ์อาหาร

เลือกบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะกับเมนูอาหาร

บรรจุภัณฑ์ 1 รูปแบบ ไม่ได้เหมาะกับอาหารทุกเมนู เพราะฉะนั้น การเลือกบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับเมนูอาหาร จะช่วยคงหน้าตา รสชาติ และความสดใหม่ของอาหารเอาไว้ได้ ไปดูกันว่า เมนูอาหารแบบนี้ ควรเลือกใช้บรรจุภัณฑ์แบบไหน

  • บรรจุภัณฑ์สำหรับก๋วยเตี๋ยว แกงกะหรี่ ต้ม ซุปกิมจิ สุกี้ ราดหน้า  ถุงร้อนและหนังยาง ถือเป็นภูมิปัญญาไทยๆ แต่เวิร์คกับอาหารที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบมากที่สุด ทั้งเรื่องความสะดวกสบาย และความแน่นหนา แต่ถ้าอยากเพิ่มมูลค่าให้อาหารของเราอีกนิด OfficeMate แนะนำให้ใช้ เครื่องซีลถุง ที่สามารถใช้ได้กับถุงทุกชนิด ใช้งานง่าย เพียงบรรจุอาหารลงไปในถุงพลาสติก แล้วจัดการซีลปิดปากถุง แน่นหนา ไม่หก ไม่รั่วซึม แถมได้เป็นแพ็คเกจจิ้งสวยๆ และช่วยประหยัดค่าหนังยางไปได้อีกด้วย
บรรจุภัณฑ์อาหาร
  • บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารจานเดียว อย่างข้าวราดผัดกะเพรา ผัดซีอิ๊ว ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ สุกี้แห้ง สปาเกตตี้ ผัดมักโรนี ฯลฯ สามารถเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ได้หลายแบบ ที่สำคัญคือต้องมีฝาปิดมิดชิด แนะนำให้ใช้เป็นกล่องพลาสติกแบบมีฝาปิด และไม่แนะนำให้ใช้กล่องโฟม เพราะอาหารอาจรั่วซึมออกมาขณะขนส่ง นอกจากนั้น ถ้าอยากรักษารสชาติของอาหาร ควรแยกข้าว และ กับข้าว ออกจากกัน เพื่อไม่ให้ข้าวดูดน้ำจากอาหารไปทั้งหมด ไม่ทำให้ข้าวแฉะ จนเสียรสชาติ และอย่าลืม! หากอาหารของเราต้องอุ่นก่อนทาน ควรเลือกใช้บรรจุภัณฑ์แบบเข้าไมโครเวฟได้ด้วยนะคะ   
บรรจุภัณฑ์อาหาร
  • บรรจุภัณฑ์สำหรับข้าวหน้าแบบญี่ปุ่น เช่น ข้าวหน้าเนื้อ ข้าวหน้าหมู ข้าวหน้าไก่ ข้าวหน้าปลาไหล ฯลฯ เหมาะกับบรรจุภัณฑ์ทรงถ้วยกลมแบบมีฝาปิด เพราะให้ฟีลความเป็นญี่ปุ่นที่สุด และช่วยให้อาหารมีหน้าตาน่ารับประทาน ส่วนซอสสำหรับราด หรือเครื่องเคียง อาจบรรจุในถ้วยพลาสติกสำหรับน้ำจิ้มแยกเอาไว้ เพื่อความสดใหม่
  • บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารชุด หรือ เบนโตะ เป็นเมนูที่มีอาหารหลากหลายชนิดใน 1 เช็ต เพื่อความสะดวกสบายของลูกค้า และควบคุมต้นทุนให้ร้านค้า ให้เลือกบรรจุภัณฑ์เป็นกล่องพลาสติก 2-5 ช่อง แบบมีฝาปิด เพื่อแยกข้าว กับข้าว และเครื่องเคียงออกจากกัน ช่วยให้เบนโตะดูน่าทาน มีหน้าตาเหมือนเสิร์ฟที่ร้าน และไม่ทำให้อาหารปนกันจนเสียรสชาติ

* แต่ถ้าปริมาณกับข้าว หรือ เครื่องเคียงมีเยอะ จนไม่สามารถใส่ในกล่องหลุมได้ ก็ควรบรรจุแบบแยกกล่อง

บรรจุภัณฑ์อาหาร
  • บรรจุภัณฑ์สำหรับขนมหวาน เบเกอรี่ เช่น เค้ก ขนมปัง คัพเค้ก ขนมอบต่างๆ ควรเน้นบรรจุภัณฑ์ที่ดีไซน์สวย เพื่อเสริมมูลค่าให้ขนม แต่ต้องระวัง หากขนมของเรามีส่วนที่เป็นไส้ด้านใน หรือเค้กที่ตกแต่งหน้าตาสวยงาม ควรเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ค่อนข้างแข็ง อย่างกล่องกระดาษ เพื่อปกป้องขนมจากการถูกกดทับ
  • บรรจุภัณฑ์สำหรับบิงซู น้ำแข็งใส แนะนำให้ใช้เป็นถ้วยกระดาษทรงกระบอกแบบมีฝาปิด ซึ่งอาจต้องสั่งทำเป็นพิเศษ ส่วนท้อปปิ้ง อาจเลือกเป็นแบบบรรจุถุงพลาสติกซีลปาก หรือถาดหลุมพลาสติกแบบมีฝาปิด นอกจากนั้น ควรบรรจุอยู่ในถุงเก็บความเย็นอีก 1 ชั้น เพื่อไม่ให้น้ำแข็งละลายระหว่างการขนส่ง
  • บรรจุภัณฑ์สำหรับซูชิ ซาชิมิ สลัด เป็นอาหารที่มีน้ำอยู่ในตัว เน้นที่ความชุ่มฉ่ำ และสดใหม่ ไม่แนะนำให้ใช้บรรจุภัณฑ์แบบกระดาษ เพราะกระดาษจะดูดน้ำจากอาหารไปจนหมด และรั่วซึมง่าย แนะนำให้ใช้บรรจุภัณฑ์แบบพลาสติก ทรงยาว มีฝาปิด จะช่วยคงความสดใหม่ และทำให้อาหารมีหน้าตาน่ารับประทานได้มากกว่า    
บรรจุภัณฑ์อาหาร
  • บรรจุภัณฑ์สำหรับเครื่องดื่ม เช่น กาแฟ ชาไข่มุก ฯลฯ ส่วนใหญ่อาจบรรจุอยู่ในแก้วแบบซีลพลาสติกปิด ซึ่งถือเป็นบรรจุภัณฑ์ที่แน่นหนาและเหมาะที่สุดในการเดลิเวอรี่เมนูเครื่องดื่ม แต่ถ้าไม่มีเครื่องซีลฝาแก้ว ให้ใช้พลาสติกห่ออาหาร ปิดปากแก้ว แล้วค่อยครอบอีกหนึ่งชั้นด้วยฝา ก็เป็นอีกเทคนิคที่ทำให้น้ำไม่หกระหว่างการขนส่ง แล้วอย่าลืมจัดส่งแบบแยกน้ำแข็ง เพื่อคงรสชาติความเข้มข้นของเครื่องดื่มด้วยนะคะ 
  • บรรจุภัณฑ์สำหรับของทอด ไม่ควรบรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิท เพราะจะทำให้อาหารชื้นจากไอน้ำ ทำให้ของทอดไม่กรอบ นิ่มไว จึงควรเจาะรูที่บรรจุภัณฑ์ หรือเลือกบรรจุภัณฑ์ที่มีรูระบายความร้อน เพื่อไม่ให้เกิดไอน้ำมากเกินไป 
บรรจุภัณฑ์อาหาร

การเลือกบรรจุภัณฑ์อย่างตั้งใจ และแพ็คอย่างพิถีพิถัน จะแสดงถึงความใส่ใจในรายละเอียด ช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของร้าน ทำให้ลูกค้าประทับใจได้ตั้งแต่ออร์เดอร์แรก และจะกลับมาออร์เดอร์ซ้ำอย่างแน่นอน! อย่าปล่อยให้บรรจุภัณฑ์มาลดมูลค่าอาหารของคุณ สั่งซื้อบรรจุภัณฑ์อาหารคุณภาพดี ได้เลยที่ OfficeMate