
ปัจจุบันเราเห็นข่าวการเสียชีวิตด้วยภาวะหัวใจหยุดเต้นกันบ่อยครั้ง มีทั้งผู้สูงอายุ คนอายุน้อยที่ภายนอกดูแข็งแรง ไปจนถึงนักกีฬาอาชีพ ซึ่งภาวะหัวใจหยุดเต้นหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะนี้ มักไม่มีสัญญาณเตือน เมื่อเกิดขึ้นแบบเฉียบพลันจึงมีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้มาก แต่ถึงอย่างนั้น หากผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือทันทีก็มีโอกาสที่จะรอดชีวิตสูงเช่นกัน ซึ่งนอกจากการ CPR ปั๊มหัวใจที่เป็นการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้ว หากมีเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ หรือ AED ไว้ใกล้มือจะมีส่วนช่วยลดการสูญเสียได้อีกมากเลยทีเดียว

AED : เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ คืออะไร?
เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ หรือเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator) หรือเรียกสั้นๆ ว่า เครื่อง AED เป็นอุปกรณ์ปฐมพยาบาลแบบพกพา สามารถช่วยวินิจฉัยโดยเช็กอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะได้ การช่วยเหลือชีวิตฉุกเฉิน ทั้งยังสามารถให้การรักษาโดยช็อกไฟฟ้าให้หัวใจกลับมาเต้นเป็นจังหวะปกติ
ผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะเฉียบพลัน ปกติแล้วจะหมดสติภายในไม่กี่วินาทีและมีโอกาสเสียชีวิตทันที แต่ถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยการ CPR ร่วมกับการช็อกไฟฟ้า (Electrical Shock) จากเครื่อง AED โดยเร็ว ก็มีโอกาสที่จะรอดชีวิตได้มากขึ้น
AED : เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ ใช้งานยังไง?

ประชาชนทั่วไปอย่างเราๆ ก็สามารถใช้เครื่อง AED ได้ โดยผ่านการฝึกฝน หรือทำตามคำแนะนำของแพทย์ฉุกเฉินสายด่วน 1669 ซึ่งในวันนี้ออฟฟิศเมทมีวิธีการใช้งานเครื่อง AED และข้อมูลเกี่ยวกับ AED แบบคร่าวๆ มาแนะนำกัน เผื่อเกิดเหตุฉุกเฉินจะได้รู้ขั้นตอนในการรับมือและให้ความช่วยเหลือผู้อื่นได้ทัน
- หากพบเจอคนหมดสติ หรือหัวใจหยุดเต้นกระทันหัน ขั้นแรกจัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงาย ปลุกโดยการเขย่าตัวและเรียกดังๆ
- โทรแจ้งแพทย์ฉุกเฉิน 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือ และขอคำแนะนำในการปฐมพยาบาล
- ตรวจเช็กลมหายใจ หากผู้ป่วยไม่หายใจหรือไม่รู้สึกตัว ให้ทำ CPR โดยปั๊มหัวใจ
- หากมีเครื่อง AED เปิดเครื่อง และฉีกซองบรรจุอิเล็คโทรด โดยแผ่นอิเล็กโทรดจะมี 2 ชิ้น
- ถอดเสื้อของผู้ป่วยออก แปะแผ่นอิเล็กโทรดชิ้นแรกที่บริเวณทรวงอกต่ำกว่าไหปลาร้าด้านขวา และแปะชิ้นที่สองบริเวณชายโครงด้านซ้าย (ตามรูป) เมื่อแปะแล้ว ห้ามผู้ใดสัมผัสตัวผู้ป่วยเด็ดขาด

- จากนั้นเครื่อง AED จะทำการวิเคราะห์จังหวะการเต้นของหัวใจ เมื่อวิเคราะห์เสร็จแล้ว จะมีสัญญาณให้ทำการช็อกไฟฟ้า
- กดปุ่มช็อกไฟฟ้า และทำ CPR อย่างต่อเนื่องตามคำแนะนำของเครื่อง AED จนกว่าผู้ป่วยจะรู้สึกตัว หรือจนกว่าทีมแพทย์จะมาถึง
สถานที่ที่ควรติดตั้งเครื่อง AED

การให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีอาการหัวใจหยุดเต้น หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบเฉียบพลัน ควรทำภายใน 3-5 นาที หรือทำโดยเร็วที่สุด ดังนั้น ในสถานที่สาธารณะต่างๆ เช่น สนามกีฬา สวนสาธารณะ โรงเรียน มหาวิทยาลัย สถานที่ราชการ บริษัทเอกชน โรงงาน ห้างสรรพสินค้า สนามบิน โรงแรม รีสอร์ท ฯลฯ จึงควรมีเครื่อง AED นี้ติดเอาไว้เป็นความปลอดภัยสาธารณะ จะได้ให้ความช่วยเหลือได้ทันเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน และตามกฎกระทรวงควบคุมอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษ ฉบับที่ 69 พ.ศ. 2564 ก็กำหนดเอาไว้ว่า ‘ให้อาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษที่เป็นอาคารสาธารณะต้องจัดให้มีพื้นที่หรือตำแหน่งเพื่อติดตั้งเครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ หรือ AED (Automated External Defibrillator)’
เห็นความสำคัญของเครื่อง AED กันแล้วใช่มั้ยคะ แม้จะเป็นเครื่องที่มีราคาสูง แต่เชื่อว่าต่ำกว่าราคาของความสูญเสียแน่นอน
ดังนั้น หากคุณต้องการเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ หรือ เครื่อง AED เข้ามาสั่งซื้อได้เลยที่ www.ofm.co.th เราการันตีคุณภาพและความปลอดภัย ด้วยผู้ผลิต AED ชั้นนำ มาตรฐานระดับสากล!
บทความที่เกี่ยวข้อง
- “ไฟไหม้” ไม่ได้น่ากลัวเสมอไป ถ้ารู้จักวิธีใช้ถังดับเพลิง!
- 5 ข้อดี ซื้ออุปกรณ์เซฟตี้บนออนไลน์ ดีกว่ายังไง
- ส่อง สถิติอุบัติเหตุในโรงงาน ที่พบบ่อยที่สุด พร้อมแนวทางป้องกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก