
ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในไทยตอนนี้เพิ่มสูงขึ้น ทำสถิติ New high ทุกวัน โดยเฉพาะในพื้นที่กทม. และปริมณฑลที่กำลังประสบอีกหนึ่งวิกฤต คือโรงพยาบาลไม่มีเตียงเพียงพอที่จะรองรับผู้ป่วย หลายคนป่วยถึงขั้นป่วยหนักแต่ก็ยังรอเตียงอยู่ที่บ้าน วันนี้ OfficeMate เลยรวบรวมช่องทางหาเตียงสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาชน พร้อมเอกสารที่ต้องเตรียม ข้อมูลที่ต้องใช้ รวมถึงการปฏิบัติตัวระหว่างรอเตียง ไปดูกันเลย
ช่องทางหาเตียงสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 จากหน่วยงานภาครัฐ
- สายด่วน สปสช. : โทร. 1330 กด 0 หาเตียง / ลงทะเบียนกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) / กลับไปรักษาตัวต่างจังหวัด
- สายด่วน สพฉ. : โทร. 1669 กด 2 หรือแอดไลน์ @Covid1669
- สายด่วน กรมการแพทย์ : โทร. 1668 กด 1 (08.00-22.00 น.) หรือแอดไลน์ @1668.reg
- แอดไลน์ @sabaideebot เพื่อลงทะเบียนหาเตียง กรอกข้อมูล และรอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ
- สายด่วน กรมควบคุมโรค : โทร. 1422
- สายด่วน สปส. : โทร. 1506
- ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (UCEP) : โทร. 02-872-1669
- นนทบุรี : โทร. 061-394-5402 / 061-394-5403 / 061-172-2534 / 061-172-2260
- สมุทรปราการ : โทร. 063-192-9272 / 063-192-9207
- สมุทรสาคร : โทร. 065-549-3322 / 034-871-274
- สมุทรสงคราม : โทร. 034-713-309 / 034-711-678
- ปทุมธานี : โทร. 02-581-6454 / 02-581-5658 / 065-950-5772
- Texi Covid-19 โรงพยาบาลราชวิถี รับ-ส่งผู้ป่วยโควิด-19 ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล : โทร. 096-771-1687 (โทรแจ้งล่วงหน้า อย่างน้อย 1 วัน ตั้งแต่ 09.00-19.00)
ช่องทางหาเตียงสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 จากภาคประชาชน
- เส้นด้าย Zendai : หาเตียง และบริการรถรับ-ส่ง โทร. 081-591-9714 / 080-660-9998 / 097-119-683 หรือ เฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/zendai.org/
- หมอแล็บแพนด้า : เฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/MTlikesara
- Back Home กลับบ้าน : ประสานงานหารถพยาบาลกลับไปรักษาภูมิลำเนา แอดไลน์ @backhome
- #เราต้องรอด คุณได๋ ไดอาน่า และทีมงาน : เฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/savethailandsafe/ หรือแอดไลน์ @iwillsurvive
- คุณบุ๋ม ปนัดดา วงศ์ผู้ดี และทีมงาน : เฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/องค์กรทำดี-143241443118382/ / https://www.facebook.com/boompanadda2000
- ไทยรัฐนิวส์โชว์หาเตียง : เฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/newsshow32/
- ไทยพีบีเอสช่วยโควิด-19 : แอดไลน์ @RongTookThaiPBS หรือเว็บไซต์ https://covid-online.thaip.bs หรือโทร. 02-790-2111
- Drama-Addict : เฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/DramaAdd
- โครงการ “เป็นโควิดต้องมีที่รักษา” คุณณวัตน์ อิสรไกรศีล : เฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/NawatTV/ หรือแอดไลน์ @missgrand
- #ใครติดสะกิดมาร์ท คุณอภิวัฒน์ ด่านศรีชาญชัย : โทร. 064-939-4691 หรือ เฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/apiwat.dansrichachai/
- จักรทิพย์คนทำงาน พล.ต.อ. จักรทิพย์ ชัยจินดา : เฟซบุ๊ก https://www.facebook.com/CC.Kontumngan
สำหรับใครที่เป็นผู้ป่วยสีเขียว คือมีอาการไม่หนักมาก สามารถลงทะเบียนเพื่อขอแยกกักตัวรักษาเองที่บ้าน Home Isolation ได้ที่ https://crmsup.nhso.go.th/ หรือแอดไลน์ @nhso เลือกเมนูลงทะเบียนรักษาตัวที่บ้าน และรอให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ สิ่งที่จะได้รับ คือ
- วิดีโอคอลประเมินอาการวันละ 2 ครั้ง
- อาหาร 3 มื้อ
- เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ และเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
- ยารักษาอาการเบื้องต้น และยาฟ้าทะลายโจร
- ประสานงานส่งต่อหากอาการแย่ลง และส่งยาฟาวิพิราเวียร์ประคองอาการ
เตรียมข้อมูลผู้ป่วยโควิด-19 ให้พร้อมก่อนหาเตียง

ก่อนติดต่อหาเตียง แนะนำให้เตรียมข้อมูลของผู้ป่วยโควิด-19 ให้พร้อม เพื่อความรวดเร็ว
- เอกสารสำคัญ : บัตรประชาชน + ใบยืนยันผลการตรวจโควิด-19 แนะนำว่าให้ตรวจแบบ RT-PCR
- ชื่อ-นามสกุล
- ที่อยู่ปัจจุบัน
- สิทธิในการรักษาโรงพยาบาล / สิทธิประกันสังคม / ประกัน
- อาการปัจจุบัน (แจ้งให้ละเอียด)
- โรคประจำตัว
- เบอร์โทรศัพท์ผู้ป่วย / ญาติที่ติดต่อได้
ปฏิบัติตัวอย่างไร ระหว่างรอเตียง
เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยค่อนข้างมาก หลายคนต้องรอหลายวันกว่าจะได้เตียงรักษา ระหว่างนี้เราไปดูวิธีการปฏิบัติตัว หรือประคับประคองอาการกัน
- กักตัว โดยรักษาระยะห่างจากคนในบ้าน แยกอาหาร ของใช้ และแยกห้องน้ำ (ถ้าเป็นไปได้) ห้ามออกจากที่พักเด็ดขาด
- แยกขยะ ใช้ถุงขยะสีแดง หรือระบุว่าเป็นขยะติดเชื้อ
- แนะนำให้อยู่ในห้องที่มีการระบายอากาศดี งดใช้เครื่องปรับอากาศ
- หากไม่ได้อยู่คนเดียว แนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
- หากมีไข้สูง ให้ทานยาพาราเซตามอล ครั้งละ 1 เม็ด ทุกๆ 4-6 ชั่วโมง และเช็ดตัว
- สำหรับอาการอื่นๆ เช่น ไอ มีเสมหะ หรือมีน้ำมูก ให้ทานยาน้ำแก้ไอ ยาลดน้ำมูก รักษาตามอาการ หรือตามคำแนะนำของแพทย์
- พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่งโมง ต่อวัน
- หากทานอาหารไม่ค่อยได้ ให้ทานน้อยๆ แต่ทานบ่อยๆ หรือดื่มน้ำ2 ลิตรต่อวัน
- หากมีอาการท้องเสีย ให้งดอาหารประเภทนม โยเกิร์ต และผลไม้ ดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่สำหรับท้องเสีย
- ทานยาประจำตัวตามปกติ ห้ามขาด
- สังเกตอาการตัวเองอยู่เสมอ วัดไข้ด้วยเทอร์โมมิเตอร์ และเช็กปริมาณออกซิเจน ด้วยเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ไม่ควรต่ำกว่า 95%
- หากมีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก ให้รีบติดต่อพยาบาลใกล้บ้าน หรือโทร 1669 / 1668 ทันที ระหว่างนี้ให้นอนคว่ำ หรือนอนตะแคงซ้าย แนะนำให้ใช้กระโถนแทนการลุกไปเข้าห้องน้ำ หรือเข้าห้องน้ำแล้วไม่ต้องล็อกกลอนประตู
- อย่าลืมแจ้งอาการให้ญาติ หรือบุคคลใกล้ชิดทราบอยู่เสมอ
OfficeMate ขอเป็นส่วนหนึ่งที่ได้ช่วยให้คนไทยก้าวผ่านวิกฤตนี้ไปได้ หวังว่าบทความนี้จะมีส่วนช่วยผู้ป่วยโควิด-19 ทุกคนได้ไม่มากก็น้อย ระหว่างนี้ก็อย่าลืมดูแลตัวเอง รักษาระยะห่าง สวมใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือทุกครั้งก่อนทานอาหาร หรือเมื่อสัมผัสกับสิ่งของสาธารณะ
ช้อปอุปกรณ์ตรวจวัด เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว และไอเทมป้องกันตัวเองจากโควิด-19 ได้เลยที่ เว็บไซต์ OfficeMate