ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) ปัญหาสุขภาพทางร่างกาย ที่มักเกิดขึ้นกับมนุษย์ออฟฟิศ โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลที่ทุกคนใช้เวลาในการทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ และสมาร์ตดีไวซ์ต่าง ๆ เป็นระยะเวลานาน โดยสัญญาณของอาการออฟฟิศซินโดรม มักเริ่มได้จากอาการดวงตาเมื่อยล้า มือชา ปวดคอ บ่า และหลัง ในบทความนี้ OfficeMate จึงนำเอาอุปกรณ์เสริม และวิธีป้องกัน มาแนะนำให้เหล่าคนทำงานได้รู้จักวิธีรับมือกับปัญหาสุขภาพยอดฮิตนี้กัน
Office Syndrome เกิดขึ้นได้อย่างไร
โดยหลักการ ออฟฟิศซินโดรม เกิดจากการนั่งทำงานในท่าทางหรือสรีรศาสตร์ที่ไม่ถูกต้องเป็นระยะเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อ และโครงสร้างกระดูก มีอาการตึงจนถึงอักเสบ ทำให้เรารู้สึกปวดหลัง คอ หัวไหล่ มีอาการแข็งตึงเพราะขาดการยืดเหยียด โดยอาการนำร่องยอดฮิตอย่าง อาการมือชา ที่เกิดจากเส้นประสาทบริเวณข้อมือถูกกดทับ จากการจับเมาส์ และพิมพ์งานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ส่วนอาการที่เกิดจากการมองเห็น เกิดจากการจ้องมอนิเตอร์มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีอาการตาพร่ามัว ตาแห้ง ภาพที่มองตรงหน้าไม่ชัดเจน จนถึงขั้นปวดหัว นอกจากนั้น สุขภาพจิต ก็ส่งผลให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมได้ อันมาจาก ความเครียด วิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า เนื่องจากการโหมงานหนัก จนขาดการเคลื่อนไหว เหล่านี้เป็นปัจจัยที่นำไปสู่อาการออฟฟิศซินโดรมได้เช่นกัน
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรม
เมื่อทราบถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ อย่างออฟฟิศซินโดรม แน่นอนว่าวิธีป้องกันจากอาการเหล่านี้ก็สามารถทำได้ไม่ยาก เพียงแต่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอ และกระตุ้นตัวเองให้เริ่มทำกิจกรรมเหล่านี้อยู่ตลอดเวลา นอกจากนั้นยังมีไอเทมอีกหลายชิ้น ที่ช่วยป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรมไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ได้อีกด้วย
เลือกใช้ 6 อุปกรณ์ช่วยป้องกันออฟฟิศซินโดรม
1. ยางยืดบริหารมือ ป้องกันนิ้วชา นิ้วล็อก
อุปกรณ์สำหรับใช้บริหารมือ ป้องกันอาการนิ้วล็อก ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก และช่วยคลายความเครียด จัดเป็นเครื่องมือป้องกันอาการมือชาได้เป็นอย่างดี
2. โต๊ะเพื่อสุขภาพ
โต๊ะทำงานที่สามารถปรับความสูงได้ ช่วยให้ผู้ใช้ปรับระดับของโต๊ะให้เหมาะกับสรีระ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรม เช่น ปวดหลัง ปวดคอ ปวดไหล่ ปวดศีรษะ
3. เมาส์ช่วยลดอาการปวดข้อมือ
เมาส์แนวตั้งหรือเมาส์สุขภาพ (Vertical Mouse) ออกแบบมาเพื่อรองรับสรีระมือและข้อมือในท่าที่ถูกต้อง ตามหลักสรีรศาสตร์ ช่วยลดการงอข้อมือ ที่เป็นหนึ่งในสาเหตุของอาการปวดข้อมือ
4. แผ่นรองข้อมือ
อุปกรณ์ช่วยรองรับบริเวณข้อมือ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกดทับ ลดการเสียดสีของข้อมือกับขอบโต๊ะทำงาน ช่วยลดอาการปวดบริเวณข้อมือและแขนได้เป็นอย่างดี ผ่านวัสดุเมมโมรีโฟม 100% หุ้มด้วยเนื้อผ้า Lycra
5. อุปกรณ์สวมข้อมือ
ปลอกสวมข้อมือที่ช่วยรองรับแรงกด แรงกระแทกบริเวณข้อมือ ลดอาการปวดข้อมือ จากการทำกิจกรรมที่มีการใช้ข้อมือหนักนอกจากการทำงาน อาทิ การฝึกซ้อมหรือเล่นกีฬา ช่วยป้องกันไม่ให้บาดเจ็บซ้ำ
6. อุปกรณ์พยุงข้อมือ
อีกหนึ่งอุปกรณ์ที่ช่วยบรรเทาอาการปวด ประคองและรักษาสภาพ ข้อมือที่บาดเจ็บ สวมใส่ได้แน่นกระชับ ระบายอากาศได้ดี สามารถใช้ได้ทั้งกับมือซ้ายและมือขวา
วิธีการ และอุปกรณ์เหล่านี้ มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดอาการออฟฟิศซินโดรม อาทิ ปวดหลัง ปวดไหล่ มือชา ปวดข้อมือ อาการนิ้วล็อก แต่ก็เป็นแค่อุปกรณ์ช่วยป้องกัน ฉะนั้นอย่าลืมหันมาใส่ใจสุขภาพร่างกายของตัวเอง ไม่โหมงานเกินขีดจำกัดของร่างกาย มีการยืดเหยียดเป็นระยะ และหมั่นออกกำลังกายนั้น เป็นวิธีที่ช่วยให้ห่างไกลจากการเกิดออฟฟิศซินโดรมได้ดีมากกว่าสิ่งใด
บทความที่เกี่ยวข้อง