ทุกวันนี้แท็บเล็ตแทบจะเป็นทุกอย่างให้ชาวเราแล้ว ไม่ว่าจะเล่น เรียน หรือทำงาน ก็ตอบโจทย์ไปหมดซะทุกเรื่อง ใครที่มีแท็บเล็ตอยู่กับตัว หรือเพิ่งจะซื้อแท็บเล็ตใหม่มา ก็คงอยากจะทะนุถนอม ยืดอายุการใช้งานให้ยาวๆ เพราะราคาก็แอบแรงอยู่ไม่ใช่น้อย เพราะฉะนั้น วันนี้ OfficeMate จะมารีวิวฟิล์มกันรอย ซึ่งถือเป็นไอเทมเสริมชิ้นสำคัญ ช่วยถนอมหน้าจอแท็บเล็ตที่เป็นหัวใจหลักของการใช้งาน ซื้อแท็บเล็ตมาแล้ว แต่จะติดฟิล์มแบบไหนให้เหมาะกับการใช้งาน ไปดูกันเลย!

รีวิวฟิล์มกันรอยแท็บเล็ตแต่ละประเภท

การเลือกติดฟิล์มกันรอยแท็บเล็ตไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่รู้คุณสมบัติของฟิล์มแต่ละประเภท แล้วเลือกให้เหมาะกับจุดประสงค์การใช้งานก็เป็นอันใช้ได้ ไปดูกันเลยว่าฟิล์มกันรอยแต่ละประเภทนั้น มีข้อดี หรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?

ฟิล์มกันรอย

1.ฟิล์มกระจกนิรภัย (Tempered Glass)

ฟิล์มกระจกนิรภัยถือเป็นฟิล์มกันรอยที่คนนิยมใช้มากที่สุดในยุคนี้ ไม่ว่าจะใช้กับสมาร์ทโฟน หรือใช้กับแท็บเล็ตก็ตาม เพราะว่ากันว่าเป็นฟิล์มที่ช่วยปกป้องหน้าจอ และช่วยกันกระแทกได้มากที่สุด แถมยังซื้อมาติดเองที่บ้านได้ง่ายๆ อีกด้วย

ข้อดีของฟิล์มกระจกนิรภัย คือ มีความหนา ซึ่งจะช่วยปกป้องหน้าจอจากรอยขีดข่วน รอยขนแมวได้แบบ 100% ทั้งยังช่วยรองรับแรงกระแทกในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุแท็บเล็ตหล่นจากมือได้ ปกติแล้วฟิล์มกระจกจะมีระดับความแข็งกำกับเอาไว้ ซึ่งควรเลือกฟิล์มกระจกที่มีความแข็งในระดับ 3H ขึ้นไป คือแข็งมากกว่าเล็บ (2H) จึงจะช่วยป้องกันรอยขีดข่วนได้ดี หรือใครที่มีทุนซักหน่อย เลือกฟิล์มกระจกระดับ 9H ก็จะช่วยปกป้องหน้าจอแท็บเล็ตของคุณได้มากยิ่งขึ้น

นอกจากเลือกที่ความแข็งแล้ว ฟิล์มกระจกนิรภัยยังแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทย่อยๆ คือแบบใส และแบบด้าน

1.1. ฟิล์มกระจกนิรภัยแบบใส : ให้ภาพที่คมชัด สีสันใกล้เคียงกับหน้าจอจริงมากที่สุด แต่ทัชสกรีนจะมีความหนืดเล็กน้อย เกิดรอยนิ้วมือได้ง่าย แต่ก็ทำความสะอาดง่ายเช่นกัน เหมาะกับคนที่เน้นงานด้านกราฟิก ภาพถ่าย เล่นเกม หรือดูหนัง 

1.2. ฟิล์มกระจกนิรภัยแบบด้าน : ช่วยกันรอย และรับแรงกระแทกได้ดีเหมือนแบบใส แต่อาจจะทำให้สีสันของหน้าจอดรอปลงนิดหน่อย ทัชได้ลื่นกว่าแบบใส เกิดรอยนิ้วมือยากกว่า เหมาะกับการเล่นเกม 

แม้ฟิล์มกระจกนิรภัยจะช่วยกันรอย และกันกระแทกได้ดีที่สุด แต่ก็อาจจะไม่ถูกใจ และไม่ตอบโจทย์สำหรับบางคน เพราะหลายคนบอกว่าฟิล์มกระจกทำให้ปลายปากกาอยู่ห่างจากหน้าจอมากเกินไป ควบคุมทิศทางการเขียนค่อนข้างยาก และมีแสงสะท้อนเข้าตาเยอะ ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละบุคคลด้วยเช่นกัน

2.ฟิล์มใส

ฟิล์มกันรอยชนิดใส หรือฟิล์มกันรอยแบบธรรมดา มีราคาถูก ติดง่าย บางเฉียบ ติดแล้วเหมือนไม่ติด ให้สีสันที่สดชัดเหมือนกับหน้าจอแท็บเล็ตจริงๆ เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป ทั้งพิมพ์งาน ดูหนัง เล่นเกม แต่สำหรับคนชอบจดชอบขีดเขียน ฟิล์มชนิดนี้อาจจะลื่นเกินไปจนควบคุมทิศทางของปากกาได้ยาก

ฟิล์มกันรอยชนิดใสช่วยป้องกันรอยขีดข่วน รอยขนแมวได้ดี แต่อาจจะไม่ช่วยเรื่องการกระแทกเท่าไหร่ นอกจากนั้น ยังเกิดรอยนิ้วมือได้ง่าย (แต่ก็เช็ดออกง่าย) และเกิดแสงสะท้อนจากหน้าจอค่อนข้างมาก หากใช้งานนอกสถานที่   

3.ฟิล์มกระดาษ

ฟิล์มกันรอย

ฟิล์มกันรอยชนิดกระดาษ หรือที่เรียกว่า Paper Like เป็นฟิล์มกันรอยสำหรับสายจด สายวาดโดยเฉพาะ เพราะออกแบบมาให้มีเนื้อสัมผัสแบบกระดาษ ฟีลลิ่งเวลาเขียน หรือวาดจะให้ความรู้สึกสากๆ แถมยังมีเสียงเหมือนเขียนอยู่บนแผ่นกระดาษจริงๆ แต่ข้อเสีย คือ ฟิล์มกระดาษจะทำให้สีสัน และความคมชัดของภาพดรอปลงกว่าฟิล์มใส เวลาทัชสกรีนจะค่อนข้างลื่น แต่ข้อดี คือ ช่วยลดแสงสะท้อนได้เยอะ ช่วยกันรอยได้ดี ไม่เกิดรอยนิ้วมือ และเหมาะกับการใช้วาด ใช้เขียน เพราะความสาก หรือแสงเสียดทาน ช่วยให้ควบคุมทิศทางของปากกาได้ง่าย และไม่ต้องออกแรงเยอะ

นอกจากเลือกที่ประเภทของฟิล์มกันรอยแล้ว ใครที่ใช้แท็บเล็ตเป็นหลัก หรือใช้งานหลายชั่วโมงติดต่อกัน แนะนำให้ใช้ฟิล์มกันรอยที่มีคุณสมบัติช่วยกรองแสงสีฟ้าจากหน้าจอ (Blue-light Cut) เพื่อช่วยถนอมสายตา และลดอาการตาล้า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ฟิล์มกันรอยที่ช่วยลดแสงสีฟ้าได้ จะทำให้สีของหน้าจอผิดเพี้ยนไปเล็กน้อย คนที่ใช้แท็บเล็ตทำกราฟิก หรืองานที่ต้องแม่นเรื่องสี อาจจะไม่เหมาะกับฟิล์มกันรอยแบบนี้เท่าไหร่นัก

เต็มอิ่มกับการรีวิวไปแล้ว ใครกำลังอยากได้แท็บเล็ตไปอำนวยความสะดวกให้การเรียน หรือการทำงาน เข้ามาช้อปแท็บเล็ตจากค่าย Android และ iOS ได้เลยในเว็บไซต์ OfficeMate ช้อปวันนี้ มีโปรโมชั่นส่วนลดสุดคุ้ม พร้อมบริการส่งฟรีทั่วไทย! 

บทความแนะนำ!

ขอบคุณข้อมูลจาก