
โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งในหลายๆ ประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย มีคนเสียชีวิตจากโรคมะเร็งมากกว่าคนเสียชีวิตจากอุบัติเหตุโดยเฉลี่ย 2-3 เท่า ซึ่งประเภทของมะเร็งที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตในอันดับต้นๆ พบว่าเป็น ‘มะเร็งปอด’
มะเร็งปอดอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด หลายคนอาจคิดว่าตัวเองก็ไม่ได้สูบบุหรี่คงจะไม่เสี่ยง แต่อันที่จริงแล้ว แม้สาเหตุการเป็นมะเร็งปอดอันดับหนึ่งจะมาจากบุหรี่ แต่คนที่ไม่ได้สูบบุหรี่ก็มีสิทธิ์เป็นโรคมะเร็งปอดได้ ไปดูกันดีกว่าว่า มะเร็งปอดเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้าง?
สาเหตุของโรคมะเร็งปอด
- บุหรี่
สาเหตุอันดับหนึ่งของโรคมะเร็งปอด ก็ยังคงเป็น ‘บุหรี่’ บุหรี่เต็มไปด้วยสารก่อมะเร็งหลายชนิด เมื่อสูบ หรือแม้แต่คนที่ไม่ได้สูบ แต่สูดควันบุหรี่เข้าไป สารพิษเหล่านั้นจะเข้าไปทำลายปอด ซึ่งเป็นอวัยวะหน้าด่านที่ทำหน้าที่แลกเปลี่ยนก๊าซ แม้ร่างกายจะกำจัดสารพิษเหล่านี้ได้ แต่หากได้รับสารพิษต่อเนื่องเป็นเวลานาน ร่างกายไม่สามารถกำจัดสารพิษออกได้ทัน เซลล์และเนื้อเยื่อก็จะเกิดความเสียหาย หรือเปลี่ยนแปลงกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด
- มลภาวะในอากาศ
มลภาวะในอากาศ เช่น การเผาไหม้ของยานพาหนะ ฝุ่นควันจากการก่อสร้าง หรือคนทำงานในเหมืองที่มีแร่ใยหิน โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้ที่ PM 2.5 ระบาดหนัก หากสูดดมทุกวันโดยขาดการป้องกัน มลภาวะเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดได้ทั้งสิ้น
- อายุ
เมื่อคนเราอายุมากขึ้น เซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะต่างๆ ก็จะเสื่อมสภาพลง ส่งผลให้มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งปอดได้ง่ายขึ้น โดยช่วงอายุที่มีความเสี่ยงสูง คือ อายุ 55 ปีขึ้นไป
- เคยมีประวัติการเป็นโรคปอด
คนที่เคยมีประวัติเป็นโรคปอดมาก่อน เช่น ถุงลมโป่งพอง หรือวัณโรคปอด มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคมะเร็งปอดง่ายกว่าคนอื่นๆ
- สาเหตุอื่นๆ
สาเหตุอื่นๆ เช่น พันธุกรรม หากมีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งปอด ก็จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น แต่สำหรับพันธุกรรมนั้น ยังไม่มีผลการศึกษาแน่ชัดเท่าไหร่นัก
ชนิดของมะเร็งปอด
มะเร็งปอดแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก และมะเร็งปอดชนิดก้อนเนื้อ

- มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก
มะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก พบได้น้อยเพียงร้อยละ 10-15 เป็นเซลล์มะเร็งที่แพร่กระจายได้รวดเร็ว แต่ความรุนแรงน้อย สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการทำเคมีบำบัด
- มะเร็งปอดชนิดก้อนเนื้อ
มะเร็งปอดชนิดก้อนเนื้อ พบได้มากร้อยละ 85-90 ลุกลามช้า และมีโอกาสตรวจเจอได้ง่ายกว่ามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็ก แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่
- มะเร็งปอดระยะแรก : ก้อนมะเร็งยังไม่ลุกลามกระจายตัว สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออกได้ แต่ผู้ป่วยมักไม่รู้ตัว เพราะมะเร็งปอดระยะแรกจะไม่แสดงอาการของโรคออกมา
- มะเร็งปอดระยะที่ 2 : มะเร็งเริ่มลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณขั้วปอด ยังสามารถรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออกได้
- มะเร็งปอดระยะที่ 3 : มะเร็งลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงอื่นๆ เช่น กระดูกซี่โครง กระบังลม เยื่อหุ้มปอด
- มะเร็งปอดระยะสุดท้าย : มะเร็งกระจายไปสู่อวัยวะสำคัญอื่นๆ ของร่างกาย เช่น สมอง ตับ กระดูก ต่อมหมวกไต ฯลฯ ส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติต่างๆ ภายในร่างกาย
อาการเริ่มต้นของโรคมะเร็งปอด
จาก 4 ระยะของมะเร็งปอดนั้น จะเห็นว่าหากตรวจเจอตั้งแต่เนิ่นๆ หรือตรวจเจอมะเร็งปอดระยะแรก หรือระยะที่ 2 ยังพอมีทางรักษาโดยการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกได้อยู่ ดังนั้น แนะนำว่าควรไปตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจเช็กหาสิ่งผิดปกติไว้แต่เนิ่นๆ ก็จะช่วยให้ทำการรักษาได้ง่ายกว่า หรือถ้าใครไม่สะดวก แต่พบว่าตัวเอง หรือคนใกล้ตัวมีอาการเหล่านี้ ให้รีบไปเช็กที่โรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
- อาการไอเรื้อรัง ทั้งไอแบบมีเสมหะ และไอแบบไม่มีเสมหะ
- อาการไอเป็นเลือด
- หอบเหนื่อย
- หายใจลำบาก
- หายใจแล้วเจ็บหน้าอก
- ปวดหัว หรือปวดหลังบ่อยๆ
- เสียงแหบ
- เบื่ออาหาร น้ำหนักลดแบบไม่มีสาเหตุ
- หน้า แขน คอ มีอาการบวม
- กลืนอาหารลำบาก
แน่นอนว่าอาการเหล่านี้อาจไม่ใช่อาการของคนเป็นมะเร็งปอดทั้งหมด แต่อย่าละเลย รีบไปเช็กให้ไว จะรักษาได้ง่าย และมีโอกาสหายได้มากกว่า
ป้องกันและลดความเสี่ยงโรคมะเร็งปอด
เพื่อป้องกัน และลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งปอด ควรดูแลรักษาสุขภาพร่างกายของตัวเองให้ดี ดังนี้

- ไม่สูบบุหรี่ และไม่เข้าใกล้คนที่กำลังสูบบุหรี่ เพื่อลดการสูดควันบุหรี่มือสองเข้าไป
- สวมหน้ากากอนามัย หน้ากาก N95 ก่อนออกไปในที่สาธารณะ โดยเฉพาะวันที่แจ้งเตือนว่าค่าฝุ่น PM 2.5 พุ่งสูง
- หลีกเลี่ยงการสูดควันอื่นๆ เช่น ควันธูป ควันจากการเผาถ่าน เผาหญ้า หรือเผาขยะ
- อยู่ในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์ หรือใช้เครื่องฟอกอากาศในบ้านและในสำนักงาน
- ตรวจเช็กร่างกายประจำปีอย่างสม่ำเสมอ
- ทานอาหารที่มีประโยชน์ งดของปิ้งย่าง หรือของทอด เพราะส่งผลให้เป็นมะเร็งอื่นๆ ได้เช่นกัน
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้
- หากมีคนใกล้ชิดเป็นมะเร็งปอด อย่าลืมดูแล และคอยให้กำลังใจ เพราะหากผู้ป่วยมีกำลังใจดีเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ร่างกายฟื้นจากมะเร็งได้ไวขึ้น!
ป้องกันตัวเอง ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งปอด เพียงใช้เครื่องฟอกอากาศในบ้าน และในสำนักงาน เปลี่ยนอากาศที่มีแต่มลพิษให้สะอาดบริสุทธิ์ หายใจสบาย และสวมหน้ากากอนามัย หน้ากาก N95 ก่อนออกจากบ้าน เพื่อป้องกันเชื้อไวรัส มลภาวะ และ PM 2.5 ช้อปไอเทมลดความเสี่ยงมะเร็งปอดได้เลยที่เว็บไซต์ OfficeMate ช้อปวันนี้มีโปรเด็ด ลดแรงตลอดทั้งเดือน พร้อมบริการส่งฟรี เมื่อสั่งซื้อสินค้าครบ 499 บาท!
บทความแนะนำ!
ขอบคุณข้อมูลจาก