หลังการระบาดซ้ำไปซ้ำมา หลายต่อหลายระลอก ณ ขณะนี้โลกของเราก็สามารถพัฒนาวัคซีนที่สามารถฉีดเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายเอาชนะโควิด-19 ได้แล้ว วันนี้ OfficeMate จะพาไปดูกันว่า วัคซีนป้องกันโควิด-19 รวมแล้วมีกี่ชนิด ฉีดแล้วจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันอย่างไร? และมีอะไรที่ควรรู้ก่อนไปฉีดวัคซีนบ้าง? ไปดูกันเลย!
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้อย่างไร? ทำไมถึงควรฉีดวัคซีน?
การฉีดวัคซีนเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายของเราสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัส สำหรับคนที่ยังไม่เคยติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน เรียกว่าเป็น การฉีดวัคซีนเพื่อซ้อมให้ร่างกายได้รู้จักไวรัส และรับมือโดยการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อต่อต้านไวรัสนั่นเอง
วัคซีนป้องกันโควิด-19 จึงสามารถช่วยทุเลาอาการ ลดอัตราการเสียชีวิต ในวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพสูงๆ ยังสามารถยับยั้งการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้อีกด้วย ซึ่งหลายบริษัททั่วโลกต่างก็เร่งวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพื่อหยุดยั้งวิกฤตโรคระบาดที่เป็นวาระระดับโลกนี้ให้ได้เร็วที่สุด
วัคซีนป้องกันโควิด-19 มีกี่ชนิด?
วัคซีนป้องกันโควิด-19 แบ่งได้เป็น 4 ชนิดหลัก ตามวิธีการผลิต ได้แก่
- mRNA vaccines
mRNA vaccines เป็นการผลิตวัคซีนโดยใช้รหัสพันธุกรรมบางส่วนของเชื้อไวรัสฉีดเข้าร่างกาย อย่างวัคซีนโควิด-19 ใช้สารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสซาร์ส-โควี-2 (SARS-CoV-2) เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกายแล้ว วัคซีนก็จะไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันเชื้อไวรัสตัวนี้ขึ้นมา วัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ผลิตแบบ mRNA เช่น Pfizer-Biontech และ Moderna
- Viral vector vaccines
Viral vector vaccines เป็นการผลิตวัคซีนโดยการตัดต่อพันธุกรรมทำให้เชื้อไวรัสอ่อนลง และไม่ก่อให้เกิดโรค เมื่อฉีดเข้าร่างกายเชื้อไวรัสจะไม่ก่อให้เกิดโรคแต่จะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาแทน วัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ผลิตแบบ Viral vector เช่น Oxford-AstraZeneca
- Protein-based vaccines
Protein-based vaccines เป็นการผลิตวัคซีนโดยใช้โปรตีนบางส่วนของเชื้อไวรัส เช่น โปรตีนส่วนหนาม (Spike protein) ฉีดเข้าไปในร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิด-19
- Inactivated vaccines
Inactivated vaccines เป็นการผลิตวัคซีนโดยใช้เชื้อไวรัสที่ถูกทำให้ตายฉีดเข้าไปในร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกัน วัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ผลิตแบบ Inactivated เช่น Sinovac และ Sinopharm
วัคซีนโควิด-19 ในประเทศไทย
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ในประเทศไทย มี 2 ชนิด คือ
- ชนิด Viral vector vaccine ได้แก่ AstraZeneca
- ชนิด Inactivated vaccine ได้แก่ Sinovac
วัคซีนป้องกันโควิด-19 ทั้ง 2 ชนิดนี้ ผ่านการขึ้นทะเบียนและได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แห่งประเทศไทยตามมาตรฐาน ซึ่งการฉีดต้องฉีดให้ครบ 2 โดส โดยฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดสที่ 2 หลังจากฉีดวัคซีนโดสแรก 2-4 สัปดาห์ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้สมบูรณ์ที่สุด
ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้พร้อมกัน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2564 ที่
- Line official ‘หมอพร้อม’
- แอปพลิเคชั่น ‘หมอพร้อม’
- ติดต่อโรงพยาบาลโดยตรง
- อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ทั่วประเทศ
อ่านรายละเอียดการลงทะเบียน ‘หมอพร้อม’ ได้เลยที่ ‘หมอพร้อม V.2’ มาแล้ว!! แอด Line เช็กรายละเอียด เตรียมตัวให้พร้อมก่อนลงทะเบียน
ประเทศไหนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อะไรกันบ้าง?
จากวัคซีน 4 ชนิดหลักที่แบ่งตามการผลิต หลายบริษัทผู้พัฒนายังมีการวิจัย ต่อยอด และผลิตวัคซีนออกมาหลากหลายและจำหน่ายในนามบริษัท ซึ่งให้ประสิทธิภาพที่แตกต่างกันออกไป ไปดูกันค่ะว่า ประเทศอื่นๆ ในโลก เลือกใช้และอนุมัติการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากบริษัทผู้พัฒนาไหนกันบ้าง?
- วัคซีนป้องกันโควิด-19 Pfizer-BioNTech ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโรค มีประสิทธิภาพต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 สูงกว่า 90% และได้รับอนุมัติใน 70 ประเทศ เช่น อิสราเอล ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฯลฯ
- วัคซีนป้องกันโควิด-19 Oxford-AstraZeneca ได้รับการรับรองจากองค์การอนามัยโรค และได้รับอนุมัติใน 79 ประเทศ เช่น อินโดนีเซีย กัมพูชา บราซิล เวียดนาม ไทย ฯลฯ
- วัคซีนป้องกันโควิด-19 Bharat Biotech : ประเทศอินเดีย อิหร่าน เนปาล
- วัคซีนป้องกันโควิด-19 Sinovac : ได้รับอนุมัติใน 18 ประเทศ เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย ฯลฯ
- วัคซีนป้องกันโควิด-19 Sinopharm : ได้รับอนุมัติใน 19 ประเทศ ประเทศบรูไน กัมพูชา จีน ฯลฯ
- วัคซีนป้องกันโควิด-19 Moderna : มีประสิทธิภาพต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 สูงกว่า 90% ได้รับอนุมัติใน 13 ประเทศ เช่น สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา ฯลฯ
- วัคซีนป้องกันโควิด-19 Sputnik V : มีประสิทธิภาพต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 สูงกว่า 90% ได้รับอนุมัติใน 60 ประเทศ เช่น สปป. ลาว ฯลฯ
ข้อมูลจาก : https://thestandard.co/coronavirus-vaccine-potential-update/
อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นเมื่อฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19
อาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังจากฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 เช่น อาการคัน ปวด บวม หรือช้ำ บริเวณที่ฉีดวัคซีน อ่อนเพลีย ไม่สบายตัว คล้ายมีไข้ คลื่นไส้ เวียนศีรษะ แต่สำหรับบางคนอาจมีอาการข้างเคียงที่รุนแรง เช่น ใจสั่น ไม่อยากอาหาร อาเจียน เหงื่อออกมาก หายใจลำบาก ปวดหัว ปวดท้องรุนแรง แขนขาชา (Stroke) รวมไปถึงการเกิดลิ่มเลือด หากฉีดวัคซีนเข็มแรกแล้วมีอาการเหล่านี้ ให้รีบแจ้งแพทย์ทันที หรือหากมีอาการข้างเคียงที่ไม่รุนแรงมากให้แจ้งแพทย์ก่อนฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดสที่ 2
แม้การฉีดวัคซีนจะมีผลข้างเคียง แต่อาการข้างเคียงนั้นไม่ได้ขึ้นกับทุกคนและความรุนแรงก็แตกต่างกันไป ซึ่งส่วนใหญ่อาการข้างเคียงเพียงเล็กน้อยที่เกิดขึ้นมักหายได้เองหลังฉีด 2-3 วัน และที่สำคัญ ก่อนฉีดวัคซีนอย่าลืมให้ความร่วมมือกับแพทย์และพยาบาล ให้ข้อมูลและประวัติทุกอย่างแบบตรงไปตรงมา เพื่อความปลอดภัยของตัวเราเองนะคะ
ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้วสามารถติดเชื้อได้หรือไม่?
การติดเชื้อโควิด-19 หลังจากฉีดวัคซีนนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ แบ่งได้เป็น 2 กรณี คือ ได้รับเชื้อโควิด-19 มาก่อนที่จะฉีดวัคซีน และได้รับเชื้อหลังฉีดวัคซีนในระยะเวลายังไม่ถึง 2 สัปดาห์
ในกรณีที่ 2 นั้น เกิดขึ้นได้ เพราะ กระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อต่อต้านเชื้อไวรัสนั้นกินเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนมาหมาดๆ และกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันยังไม่เสร็จสมบูรณ์ หากไปสัมผัสรับเชื้อมาจึงมีโอกาสที่จะติดโควิด-19 ได้นั่นเอง
เคยติดเชื้อโควิด-19 แล้ว ยังต้องฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 อีกหรือไม่?
สำหรับผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 ร่างกายจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสแล้วในระดับหนึ่ง แต่เพื่อกระตุ้นและเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ต่อต้านโควิด-19 ได้ดียิ่งขึ้น ก็ควรรับการฉีดวัคซีนเช่นกัน โดยฉีดหลังจากหายป่วย ตรวจไม่พบเชื้อ และกักตัวครบตามระยะเวลาที่กำหนด
จากการวิจัยและพัฒนาจนก่อเกิดเป็นวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แม้จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันได้ แต่ OfficeMate ก็ยังแนะนำให้สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และล้างมือบ่อยๆ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการชะลอและยับยั้งการระบาดของโควิด-19 นะคะ
ช้อปอุปกรณ์ป้องกันโควิด-19 เอาไว้ป้องกันตัวจากเชื้อไวรัส OfficeMate มีให้ครบ ทั้ง หน้ากากอนามัย ผลิตภัณฑ์ล้างมือฆ่าเชื้อโรค ตุนไว้อย่าให้ขาด แล้วมาผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกันนะคะ!
ขอบคุณข้อมูลจาก : bangkokhospital / bumrungrad / thairath