เพราะเรื่องภาษีเป็นเรื่องสำคัญที่ทุก ๆ กิจการต้องบริหารจัดการเป็นอย่างดีตั้งแต่แรก เพราะหากหลงลืม หรือละเลย ไม่ใส่ใจ อาจก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นการโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง ตลอดจนการจ่ายเบี้ยปรับเงินเพิ่มต่าง ๆ ซึ่งรวมกันแล้ว อาจจะมากกว่าจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายเสียอีก ดังนั้นจะดีกว่าไหมถ้าเรามีการวางแผนภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ ในบทความนี้จะมาแนะนำให้ผู้ประกอบการเข้าใจ เกี่ยวกับเรื่องของการวางแผนภาษีกัน
การวางแผนภาษีคืออะไร
การวางแผนภาษี คือ การเตรียมการเพื่อเสียภาษีอย่างถูกต้อง ตลอดจนใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต่าง ๆ อย่างคุ้มค่า เพื่อบรรเทาภาระภาษีให้น้อยลง สามารถชำระภาษีได้ตรงตามกำหนด ช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเสียภาษีไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และค่าปรับทางอาญาต่าง ๆ
ข้อควรรู้ช่วยธุรกิจประหยัดภาษี
ก่อนจะเริ่มต้นวางแผนภาษี เรามาดูกันก่อนดีกว่าว่ามีวิธีการใดบ้างที่จะช่วยประหยัดภาษีลงได้บ้าง
1. ระบุประเภทการจัดตั้งธุรกิจให้ถูกต้อง
การทำธุรกิจนั้นจะแบ่งเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ ธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา และธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคล เช่น ห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัด ก่อนที่จะทำธุรกิจ ผู้ประกอบการจะต้องศึกษาเป็นอย่างดีว่าธุรกิจในแต่ละประเภทนั้น มีการจัดเก็บภาษีแตกต่างกันอย่างไร และธุรกิจของเรานั้นจะจัดอยู่กลุ่มธุรกิจประเภทใด เพื่อที่จะดำเนินการเรื่องภาษีได้อย่างถูกต้อง
2. ศึกษาเรื่องการเสียภาษีอย่างรอบด้าน
โดยต้องศึกษาอย่างละเอียดว่าธุรกิจของเรานั้นเกี่ยวข้องกับภาษีประเภทใดบ้าง และภาษีและประเภทนั้นมีหลักเกณฑ์การเสียภาษี และลดหย่อนภาษีอย่างไรบ้าง เพื่อการปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง
3. ศึกษาแนวทางการลดหย่อนภาษีอย่างสม่ำเสมอ
เนื่องจากทางภาครัฐมักจะมีมาตรการลดหย่อนภาษีต่าง ๆ ผู้ประกอบการควรหมั่นศึกษาแนวทางการลดหย่อนภาษีอย่างสม่ำเสมอ เพราะนั่นหมายถึงรายจ่ายที่ลดลงนั่นเอง
4. หักค่าใช้จ่ายทางภาษีจากการลงทุน
สำหรับนิติบุคคลบางประเภทสามารถหักลดหย่อนภาษีได้ด้วยการลงทุน หรือซื้อหน่วยลงทุนต่าง ๆ ซึ่งหากผู้ประกอบการท่านใดที่สนใจหักค่าใช้จ่ายด้วยวิธีนี้ก็ต้องศึกษาประเภทของการลงทุนอย่างละเอียดด้วย
5. ทำเอกสารรายจ่ายอย่างถูกต้อง
ค่าใช้จ่ายบางส่วนของหลาย ๆ กิจการ ถูกนำไปเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามที่ไม่สามารถนำมาใช้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีได้ เพราะว่าไม่มีหลักฐานการรับชำระเงินที่สมบูรณ์ ดังนั้นในการจัดการเอกสารรายจ่ายต่าง ๆ ควรตรวจสอบความถูกต้องให้ครบถ้วน ไม่ให้ตกหล่น เพราะไม่เช่นนั้นเราจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น
ตัวอย่างมาตรการลดหย่อนภาษี
ดังที่ได้กล่าวในหัวข้อที่แล้วว่า ภาครัฐนั้นมีการออกมาช่วยในการลดหย่อนภาษีอยู่เสมอ ในหัวข้อนี้เราจะมาดูตัวอย่างของมาตรการเหล่านี้กันว่ามีอะไรบ้าง
-
มาตรการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
เป็นมาตรการสำหรับกรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมที่มีกำไรสุทธิไม่เกิน 300,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษี ส่วนผู้ประกอบการที่มีกำไรสุทธิเกิน 300,000 บาท แต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท เสียภาษีอยู่ที่ 15% และผู้ประกอบการที่มีกำไรเกิน 3,000,000 บาทขึ้นไป เสียภาษีอยู่ที่ 20%
-
มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริม SMEs ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
เป็นการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับกิจการที่ได้จ่ายค่าซื้อ หรือค่าจ้างทำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตลอดจนค่าใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สามารถนำค่าซื้อ/จ้างทำ/ใช้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่จ่ายมาหักออกจากรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ตามที่จ่ายไปจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท เป็นต้น
-
มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
เป็นการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้กับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้ลงทุนในระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ และภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt และ e-Withholding Tax) รวมทั้งการจ่ายค่าบริการในระบบดังกล่าวให้มีสิทธิ์ลงรายจ่ายได้ 2 เท่าของรายจ่ายที่ได้จ่ายไป
-
มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
เป็นมาตรการที่ส่งเสริมการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถหักรายจ่ายในการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้ 2 เท่า
-
มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ
เป็นมาตรการที่ส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ โดยกิจการสามารถหักรายจ่ายได้ 2 เท่าของค่าจ้างที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และมีค่าจ้างไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท ซึ่งนายจ้างสามารถจ้างงานผู้สูงอายุได้ไม่เกิน 10% ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมด
PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ จัดการเอกสารภาษีอย่างมืออาชีพ ไม่ว่าจะเป็น ใบเสนอราคา, ใบแจ้งหนี้, ใบเสร็จรับเงิน, ใบกำกับภาษี หรือใบหักภาษี ณ ที่จ่าย ตลอดจนข้อมูลเอกสาร รายงานภาษี ทั้งรายงานภาษีขาย, รายงานภาษีซื้อ (สำหรับจัดทำ ภ.พ.30) และ รายงานภาษีหัก ณ ที่จ่าย (สำหรับจัดทำ ภ.ง.ด.1, ภ.ง.ด.3, ภ.ง.ด.53) ช่วยให้การจัดการงานภาษีเป็นไปอย่างถูกต้อง สะดวก รวดเร็ว
บทความที่เกี่ยวข้อง
- กลยุทธ์ดัดหลังธุรกิจ SME ให้เสียภาษีอย่างโปร่งใส
- 8 ไอเทมมงคลบนโต๊ะทำงาน เสริมดวงการงานการเงินให้พุ่งแรง!!
- ทบทวน! การบันทึกบัญชี… เรื่องสำคัญที่เจ้าของธุรกิจต้องทำ