ว่ากันว่า ใครที่เบื่อสมุดแพลนเนอร์หรือ To do list แบบเดิมๆ ‘Bullet Journal’ การจดบันทึกแบบใหม่ จะช่วยให้ to do list ไม่น่าเบื่อ แถมยังช่วยให้เราได้ปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการใหม่ๆ ได้เต็มที่อีกด้วย
ว่าแต่ Bullet Journal คืออะไร? แล้วจะสามารถช่วยจัดระเบียบชีวิตได้จริงหรือไม่? ไปหาคำตอบพร้อมๆ กันกับ OfficeMate เลยดีกว่าค่ะ
Bullet Journal คืออะไร?
Bullet Journal หรือเรียกง่ายๆ ว่า ‘บูโจ’ คิดค้นขึ้นโดยนักออกแบบและนักเขียนชาวอเมริกัน ‘Ryder Carroll’ เป็นวิธีการจดบันทึกด้วยมือแบบใหม่ เพื่อใช้สำหรับจัดระเบียบชีวิต จัดลำดับความคิด และสิ่งที่ต้องทำ ให้เป็นระบบระเบียบมากยิ่งขึ้น ฟังดูแล้วก็คล้ายๆ กับการจดแพลนเนอร์หรือทำ To do list ทั่วไป แต่ว่ากันว่าบูโจนั้นเป็นการจดบันทึกที่ค่อนข้างอิสระ ไร้กฏเกณฑ์ตายตัว เสน่ห์ของมัน คือการที่เราสามารถออกแบบบูโจของตัวเองได้ ตั้งแต่การเลือกสมุดจด วิธีการจด การกำหนดหัวข้อ รวมถึงการออกแบบตกแต่งในสไตล์ของตัวเอง เรียกว่าเป็นการจดบันทึกและการจัดระเบียบชีวิตที่เราสามารถปลดปล่อยพลังงานความคิดสร้างสรรค์และใส่จินตนาการได้แบบเต็มที่
อยากรู้จัก Bullet Journal หรือ บูโจ ให้ลึกขึ้น OfficeMate แนะนำ ‘วิถีบันทึกแบบบูโจ (The Bullet Journal Method)’ หนังสือที่มาพร้อมความหมาย และเทคนิคต่างๆ ในการจดบันทึกบูโจ รับรองว่าอ่านจบแล้ว ต้องลุกไปหยิบสมุดกับปากกามาลงมือเขียนแน่นอน!
ประโยชน์ของ Bullet Journal
- ช่วยเตือนความจำ ทั้งสิ่งที่ต้องทำ และแพลนในอนาคต
- การจดบันทึกบูโจในแต่ละหน้า ถือเป็นการจัดระเบียบ เรียบเรียงความคิด ให้เราได้ทบทวนอดีต ปัจจุบัน และอนาคตของตัวเองไปในตัว
- การออกแบบตกแต่งบูโจ ช่วยเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ และเสริมสร้างจินตนาการใหม่ๆ ได้
จดบันทึกแบบ Bullet Journal ให้ได้ประสิทธิภาพ
แม้เราจะสามารถสร้างสรรค์บูโจของตัวเองได้แบบอิสระ แต่ถ้าต้องการจดบันทึกแบบบูโจให้มีประสิทธิภาพ สามารถทำได้ตามแนวทางโดยใช้องค์ประกอบ 2 ส่วน คือ ‘Rapid Logging’ และ ‘Module’
Rapid Logging
Rapid Logging เป็นหลักการจดที่เน้นความกระชับและเข้าใจได้ง่าย ประกอบด้วย 4 ส่วนหลักๆ ที่ควรมี คือ
- Topics : ชื่อเรื่องหรือหัวข้อ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดหมวดหมู่
- Page Number : การใส่เลขหน้า จะช่วยให้หาง่าย เปรียบเสมือนสารบัญของหนังสือ
- Short Sentences : ใช้ประโยคสั้นๆ ในการบันทึก เช่น การนัดหมาย งานที่ต้องทำ หรือ Memo
- Bullets : สถานะของงาน ถือเป็นหัวใจสำคัญในการจดบันทึกแบบบูโจ เพื่อให้เราได้เห็นความก้าวหน้า หรือสถานะของเป้าหมายที่ตั้งไว้ ว่าเราสามารถทำได้สำเร็จลุล่วงหรือไม่ โดยทั่วไปจะใช้สัญลักษณ์ในการแสดงสถานะ เช่น # แทนสิ่งที่ต้องทำ หรือ X แทนสิ่งที่ทำสำเร็จแล้ว เป็นต้น
Module
Module เป็นโครงสร้างของการจดบันทึก ซึ่งจะช่วยให้เราจัดระเบียบชีวิตและเรียงลำดับความสำคัญของสิ่งต่างๆ ได้ง่าย และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แบ่งออกเป็น 4 แบบ คือ
- Future Log การจดแผนล่วงหน้าทั้งระยะสั้นและระยะยาว เช่น วันลาพักร้อน ทริปเที่ยวต่างประเทศ ฯลฯ
- Monthly Log การจดบันทึกแบบรายเดือน จะคล้ายกับการทำแพลนเนอร์ สามารถตีตารางเป็นปฏิทิน แล้วบันทึกสิ่งที่ต้องทำลงไป
- Weekly Log การจดบันทึกแบบรายสัปดาห์
- Daily Log การจดบันทึกแบบรายวัน
โครงสร้างทั้ง 4 แบบ สามารถใช้ร่วมผสมปะปนกันได้ เช่น จดแบบ Monthly Log ร่วมกับ Future Log เป็นต้น
Rapid Logging และ Module เป็นเพียงแนวทางในการจดบันทึกเท่านั้น องค์ประกอบต่างๆ เหล่านี้ สามารถนำมาผสมปนเปอยู่ในหน้ากระดาษจดบูโจของเราได้ หรือจะคิดกฏเกณฑ์การจดเป็นของตัวเองขึ้นมาแบบที่เราอ่านแล้วเข้าใจคนเดียวก็ได้เช่นกัน เพราะสิ่งสำคัญที่สุดของ Bullet Journal คือการปลดปล่อยจินตนาการ
ยิ่งเราใส่ความคิดสร้างสรรค์ หรือจินตนาการลงไปในบูโจของเรามากเท่าไหร่ การจดบันทึกก็จะยิ่งสนุก และยังส่งผลให้เรามีแรงผลักดันที่จะทำตามแพลนที่วางไว้ได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย นักจดบูโจหลายๆ คน นอกจากจะบันทึกสิ่งที่ต้องทำแล้ว ยังมีการบันทึกอารมณ์ในแต่ละวัน ปริมาณน้ำที่ดื่ม อาหารที่กิน คำคม หนังที่ได้ดู หรือเพลงที่ได้ฟัง ตกแต่งด้วยรูปวาด ภาพถ่ายโพลารอยด์ หรือสติกเกอร์ที่ชอบ เพียงเท่านี้แค่เปิดอ่านหรือย้อนกลับไปดูก็มีความสุข ได้มองเห็นความทรงจำต่างๆ แถมยังกระตุ้นให้อยากสร้างสรรค์บันทึกในหน้าต่อๆ ไปอีกด้วย
ตัวอย่าง Bullet Journal สวยๆ เพิ่มแรงบันดาลใจ
สำหรับใครที่เพิ่งเริ่มต้นยังไม่รู้จะจดบูโจยังไง ลองมาดูบูโจสวยๆ ของคนอื่นๆ เป็นแรงบันดาลใจกันดีกว่าค่ะ
ได้ไอเดียสร้างสรรค์บูโจกันไปแล้ว ใครคันไม้คันมืออยากมีบูโจเป็นของตัวเองซักเล่ม คลิก ‘OfficeMate’ แล้วมาช้อปสมุดโน้ตสวยๆ พร้อมอุปกรณ์เครื่องเขียนคุณภาพดี ไปลงมือจดบันทึก จัดระเบียบความคิดกันเลย!!
ขอบคุณข้อมูลจาก
จัดระเบียบชีวิตแบบทำมือด้วย “Bullet Journal (BUJO)”
ใช้เวลาช่วง Social Distancing มาจัดการชีวิตให้เป็นระเบียบมากขึ้นด้วย Bullet Journal