ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือ VAT เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้า หรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอนการผลิต และจำหน่ายสินค้าหรือบริการ ทั้งที่ผลิต ภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ
ใครมีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
สำหรับผู้มีหน้าที่ในการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดนั้นประกอบไปด้วย
หน้าที่ของผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และออกใบกำกับภาษีเพื่อเป็น
หลักฐานในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม
2. จัดทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด
3. ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีตามแบบ ภ.พ.30
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ที่ไหนบ้าง
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มของผู้ประกอบ การให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตาม แบบ ภ.พ.01 ณ สถานที่ดังต่อไปนี้
- กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในเขต กรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากร พื้นที่ หรือ จะยื่นผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่ สาขา (เขต) ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
- กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในจังหวัดอื่น นอกเขตกรุงเทพมหานคร ให้ยื่น ณ สำนักงาน สรรพากรพื้นที่สาขา (อำเภอ) ที่สถานประกอบ การตั้งอยู่
- กรณีมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้ยื่น คำขอจดทะเบียนได้ที่ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ หรือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต/อำเภอ) ที่ซึ่งสถานประกอบการที่เป็นที่ตั้งของสำนักงาน ใหญ่ตั้งอยู่ หากไม่มีสถานประกอบการที่เป็น สำนักงานใหญ่ ให้ผู้ประกอบการเลือกสถาน
- กรณีสถานประกอบการตั้งอยู่ในท้องที่ตั้ง ใหม่ ที่ยังไม่มีสำนักงานสรรพากรตั้งอยู่ ให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต/อำเภอ) ที่เคยควบคุมท้องที่นั้น
- กรณีเป็นผู้ประกอบการที่อยู่ในการกำกับ ดูแลของสำนักบริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่ให้ ยื่นขอจดทะเบียนได้ ณ สำนักบริหารภาษีธุรกิจ ขนาดใหญ่ หรือจะยื่นผ่านสำนักงานสรรพากร พื้นที่ หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต/ อำเภอ) ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ก็ได้
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีข้อดีอย่างไร
1. กิจการสามารถขอคืนภาษีซื้อได้
กิจการสามารถนำภาษีซื้อมาขอคืนภาษีได้ เช่น เมื่อกิจการซื้อสินค้าราคา 20,000 บาท มีภาษีซื้อ 1,400 บาท ถ้ากิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถขอคืนภาษีซื้อ 1,400 บาทได้ ถ้ากิจการไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อจะถือเป็นภาระต้นทุนของกิจการ ไม่สามารถขอคืนภาษีซื้อได้
2. กิจการมีการจัดทำบัญชีที่เป็นระบบมากขึ้น
เมื่อกิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการมีหน้าที่จัดทำใบกำกับภาษี ออกรายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และยื่นแบบ ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ทำให้เมื่อมีรายการซื้อขายจึงต้องบันทึกในรายงานภาษีซื้อภาษีขาย ทำให้กิจการมีการจัดทำบัญชีที่เป็นระบบ
3 . เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ
เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่ต้องการใบกำกับภาษีเวลาซื้อสินค้าหรือจ่ายค่าบริการ เพราะต้องการนำภาษีซื้อไปใช้เพื่อลดภาระภาษี การที่กิจการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มช่วยเพิ่มโอกาสในการหาลูกค้าได้มากขึ้น
4. สร้างความน่าเชื่อถือให้กิจการ
ในการติดต่อกับคู่ค้าที่ต้องการเอกสาร ภ.พ.20 (ใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม) ก่อนทำธุรกิจร่วมกัน การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทำให้ธุรกิจดูมีความน่าเชื่อถือ มีตัวตนจริงและอยู่ในระบบของสรรพากร เพราะการที่กรมสรรพากรออก ภ.พ.20 ให้กิจการใดหมายถึงกรมสรรพากรได้ตรวจสอบความมีตัวตนของกิจการนั้นแล้ว
ไม่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีโทษอย่างไร
- ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือ ปรับไม่เกิน 5,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- เสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากยอดขาย สินค้าหรือบริการ ตั้งแต่วันที่มีหน้าที่จดทะเบียนฯ เพื่อเป็นผู้ประกอบการฯ
- เสียเบี้ยปรับ 2 เท่าของเงินภาษีที่ต้องชำระ ในแต่ละเดือนภาษี
- เสียเงินเพิ่มอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือ เศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระ
- ไม่มีสิทธิ์นำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกผู้ประกอบการจดทะเบียนอื่นเรียกเก็บในขณะที่ยังไม่ได้จดทะเบียนฯ ไปหักออกจากภาษีที่ต้องชำระได้ (ภาษีขาย)
สำหรับธุรกิจที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม นอกจากจะเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายที่ถูกต้องแล้ว ยังเป็นการช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับกิจการได้อีกด้วย
PEAK โปรแกรมบัญชีออนไลน์ช่วยกิจการจัดทำงบการเงิน ให้ข้อมูลทางการเงินแบบ Real Time มีข้อมูลวิเคราะห์ในรูป Dashboard ช่วยผู้ประกอบการวางแผนและตัดสินใจเพื่อให้เกิดสภาพคล่องในการดำเนินกิจการ
ลูกค้า OfficeMate ทดลองใช้งานโปรแกรมบัญชี PEAK ฟรี! 60 วัน มูลค่า 2,400 บาท
- วันนี้ – 31 ธันวาคม 2024
- คลิก https://bit.ly/PEAK-OFM (ไม่มีค่าใช้จ่าย)
- PEAK Call Center : 1485
- LINE : @peakaccount
- สอบถามเพิ่มเติม คลิก https://m.me/peakengine
บทความที่เกี่ยวข้อง