Site icon OFM blog

สรุป! ข่าวสะพานถล่มลาดกระบัง พร้อมแนวทางระวังภัย

ข่าวสะพานถล่มลาดกระบัง ที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างสูง เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายมากมาย ทั้งทางชีวิตและทรัพย์สิน จนหลาย ๆ คนเกิดความกังวลถึงความปลอดภัยเมื่อต้องเดินทาง ในบทความนี้ OfficeMate ได้ทำการสรุปเหตุการณ์การถล่มของสะพานลาดกระบัง สาเหตุ รวมทั้งการป้องกันที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งบริษัทฯ ผู้รับเหมา ผู้ปฏิบัติงาน และบุคคลภายนอกที่ต้องเดินทางสัญจรผ่านพื้นที่การก่อสร้าง

สรุป Timeline และเหตุการณ์ “สะพานลาดกระบังถล่ม”

ขอบคุณภาพจาก Thai PBS

สาเหตุ “สะพานถล่ม” มาจากอะไร ใครต้องรับผิดชอบ

ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2566 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร มีการเปิดเผยถึงสาเหตุของสะพานถล่ม จากการลงพื้นที่ตรวจสอบ พบว่า เกิดข้อผิดพลาดของ Launcher หรือตัวยึดคานสะพาน เมื่อ Launcher ด้านบนเสียหลัก จากความผิดพลาดของขั้นตอนการดึงลวดร้อยชิ้นส่วนคอนกรีตให้เป็นชิ้นเดียวกัน ส่งผลให้เกิดการกระแทก และไปดึงเครนสะพาน ทำให้สะพานถล่มลงมา

อย่างไรก็ตาม ทางสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร ผู้เป็นเจ้าของโครงการ ร่วมกับผู้ออกแบบ คือ สำนักงานวิศวกรรมทาง สำนักการโยธาฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบและหาทางแก้ไขปรับปรุงโครงการก่อสร้างต่อไป ซึ่งทางยกระดับอ่อนนุช-ลาดกระบัง หรือ สะพานข้ามแยกลาดกระบัง ได้รับดูแลและควบคุมการก่อสร้างโดยกิจการร่วมค้า ธาราวัญ-นภา บริษัทฯ รับเหมาผู้ชนะการประมูลรับจ้างดำเนินการก่อสร้าง ด้วยการเสนอราคาต่ำสุดผ่านระบบ E-Bidding โดยมีงบประมาณการก่อสร้างตามเอกสารอยู่ที่ 1,664,550,000 บาท

ขอบคุณภาพจาก ไทยรัฐ

ภัยใกล้ตัว “สะพานถล่ม” กับแนวทางระวังภัย

สะพานถล่ม แม้เป็นเหตุการณ์ที่ไม่อาจรู้ล่วงหน้า แต่ผู้ขับขี่และผู้ใช้ถนนสามารถเฝ้าระวังเพื่อป้องกันตัวเอง หากต้องขับรถลอดใต้การก่อสร้างที่อยู่สูง เช่น สะพาน ทางด่วน รถไฟฟ้า คอยสังเกตจุดเหนือหัวว่ากิจกรรมการก่อสร้างนั้น ๆ สามารถเกิดความผิดพลาดใดได้บ้าง เช่น ชิ้นส่วนร่วงหล่น วัสดุเกิดการล้มตัว ฯลฯ และดูว่าเราอยู่ในระยะที่ปลอดภัยหรือไม่ เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมในการหลบหลีกพื้นที่อันตราย รวมทั้งเมื่อเดินตามท้องถนน ควรเดินด้วยความระมัดระวัง โดยเฉพาะเมื่อผ่านพื้นที่ก่อสร้าง ควรรีบเดินให้พ้นระยะอันตราย และอย่าลืมระวังเครื่องมือหรือชิ้นส่วนวัสดุก่อสร้างร่วงหล่นลงมาจากด้านบน และหากมีเหตุการณ์ถล่มของสิ่งก่อสร้าง ไม่ควรเข้าไปมุงดู ให้รีบอพยพ หรือออกห่างจากพื้นที่การเกิดเหตุให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันอันตรายจากการเกิดเหตุถล่มซ้ำ

ขอบคุณภาพจาก Thai PBS

ถึงแม้อุบัติเหตุการณ์สะพานถล่มจะเป็นเรื่องที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ แต่หากเราใช้ชีวิตด้วยความมีสติ เดินทางสัญจรด้วยความไม่ประมาท และคอยเฝ้าระวังความปลอดภัยเมื่ออยู่ในพื้นที่ก่อสร้างเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุในระดับหนึ่ง และสำหรับบริษัทฯ หรือเจ้าของโครงการผู้รับผิดชอบควรให้ความสำคัญกับทุกองค์ประกอบในการดำเนินการก่อสร้าง ไม่ว่าจะเป็นเลือกวัสดุการก่อสร้างที่มีคุณภาพ เลือกเครื่องมือช่าง รวมถึงอุปกรณ์สนับสนุนความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน เพื่อช่วยปกป้องทั้งทรัพย์สินและชีวิตของผู้คนให้ปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

 

อ้างอิง: thairath , komchadluek , thaipbs , bbc , thematter , bangkokbiznews

Exit mobile version