Site icon OFM blog

รู้จักกับ ‘ฟู้ดโคม่า’ (Food Coma) หรืออาการง่วงนอนหลังกินข้าว เกิดจากอะไร?

หนังท้องตึง หนังตาหย่อน วลีขำๆ สำหรับอธิบายอาการง่วงนอนหลังกินข้าวเสร็จ แต่รู้หรือไม่ว่า อันที่จริงแล้ว อาการง่วงนอนหลังกินข้าวนี้ เรียกว่า ‘ฟู้ดโคม่า’ และมีคำอธิบายตามหลักทางการแพทย์อีกด้วย!?

ฟู้ดโคม่า (Food Coma) คืออะไร?

ฟู้ดโคม่า (Food Coma) เป็นชื่อเรียกของอาการง่วงนอนหลังกินข้าว ภาษาทางการแพทย์เรียกว่า Postprandial somnolence อาการนี้มักเกิดในช่วงหลังมื้อกลางวัน (ชาวออฟฟิศน่าจะรู้กันดี) และยิ่งถ้าเป็นอาหารกลางวันมื้อใหญ่ จัดเต็มทั้งคาวหวาน ยิ่งทำให้อาการฟู้ดโคม่านั้นรุนแรงขึ้น

ทำไมอาหารกลางวันมื้อใหญ่ ทำให้เกิดฟู้ดโคม่า?

เมื่อทำงานหนัก ประชุมยาวยื้ดเยื้อ อาหารมื้อใหญ่ถือเป็นรางวัลในช่วงพักเที่ยงให้ชาวออฟฟิศ

แต่การกินอาหารกลางวันมื้อใหญ่ ที่จัดเต็มทั้งคาวหวาน อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดตร โปรตีน และไขมัน เมื่ออาหารกลางวันมื้อนี้เข้าสู่กระบวนการย่อยอาหาร นอกจากได้ผลิตภัณฑ์เป็นน้ำตาลแล้ว ยังได้เป็นกรดอะมิโน ชื่อว่า ทริปโตเฟน (Tryptophan) ซึ่งกรดอะมิโนตัวนี้มีฤทธิ์ช่วยลดความตึงเครียด ช่วยให้นอนหลับสนิท เมื่อสมองและร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย เจ้าของสมองและเจ้าของร่างจึงรู้สึกง่วงนอนขึ้นมานั่นเอง

นอกจากกรดอะมิโนที่ทำให้ง่วง น้ำตาลที่ได้จากการย่อยอาหารเมื่อเข้าสู่กระแสเลือดแล้ว ก็สามารถทำให้ง่วงได้เช่นกัน ยิ่งถ้าเป็นอาหารมื้อใหญ่ๆ ก็ยิ่งทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงมากขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ออกมา เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดให้เป็นปกติ (โดยเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นไขมัน) กระบวนการนี้ ทำให้ร่างกายหลั่งสารเซโรโทนิน (Serotonin) และสารเมลาโทนิน (Melatonin) ที่เป็นสารแห่งการนอนหลับ ส่งผลให้เราคอพับได้แม้ในตอนกลางวัน     

นอกจากนั้น อาหารจำพวกข้าว แป้ง เนื้อสัตว์ และไขมัน ยังเป็นอาหารย่อยยาก ที่ร่างกายต้องใช้พลังและเวลาในการย่อยมากพอสมควร หากมื้อกลางวันเราจัดเต็มด้วยอาหารเหล่านี้ ร่างกายก็จำเป็นต้องดึงพลังงานส่วนใหญ่ รวมถึงเลือด ไปหล่อเลี้ยงในระบบย่อยอาหารมากขึ้น ส่งผลให้พลังงานในอวัยวะและกระบวนการอื่นๆ ลดลง โดยเฉพาะสมอง ทำให้ร่างกายอ่อนแรง รู้สึกง่วง และอยากพักผ่อนนั่นเองค่ะ 

แต่นอกจากอาหารมื้อใหญ่ที่ทำให้เกิด ฟู้ดโคม่า การนอนไม่เป็นเวลา พักผ่อนไม่เพียงพอ หรือโหมงานหนักจนสมองอ่อนล้า ก็ทำให้เกิดอาการง่วงนอน อ่อนเพลียในช่วงกลางวัน และกระตุ้นให้ฟู้ดโคม่ารุนแรงขึ้นได้

6 วิธีเอาชนะฟู้ดโคม่า (Food Coma) แบบไม่ต้องพยายามถ่างตาตื่น!

ฟู้ดโคม่า (Food Coma) ไม่ใช่อาการที่ส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพ แต่ความง่วง ความอ่อนเพลียหลังกินข้าวเสร็จ แน่นอนว่ารบกวนการทำงาน ทำให้ไม่มีสมาธิ ส่งผลไปถึงประสิทธิภาพการทำงานของชาวออฟฟิศอย่างแน่นอน นอกจากนั้นการกินอาหารที่ให้พลังงานสูง กินเนื้อสัตว์ แป้ง และไขมันมากเกินไป ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคอ้วน ไขมันอุดตัน ความดัน และโรคหลอดเลือดสมองได้อีกด้วย

ดังนั้น วิธีเอาชนะ ไม่ให้อาการฟู้ดโคม่ามาเป็นอุปสรรคในการทำงาน แนะนำให้

อ่านเพิ่มเติม
เมื่อชีวิต “ติดหวาน” แก้ยังไงให้ไกลโรค?
อ่อนเพลีย-น้ำตาลต่ำ สัญญาณเตือนภัย ‘โรคไฮโปไกลซีเมีย’

ถ้าไม่อยากง่วงซึม กลายเป็นเจ้าหญิงหรือเจ้าชายนิทราหลังทานข้าว อย่าลืมเอาคำแนะนำของ OfficeMate ไปปรับใช้นะคะ ไม่ว่าจะทำงานออฟฟิศ ทำงานที่บ้าน หรือเรียนออนไลน์ รับรองว่านอกจากเอาชนะฟู้ดโคม่าได้แล้ว ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้อีกด้วย! 

แต่ถ้าอยากเพิ่มประสิทธิภาพให้การทำงานแบบสุดๆ แนะนำให้ตุนของใช้สำนักงานไว้ให้พร้อม! ใครเวิร์คฟอร์มโฮม ก็ต้องมีไอเทมจำเป็นไว้อย่าให้ขาด เพื่อพร้อมทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา ช้อป อุปกรณ์สำนักงาน และไอเทมทำงานที่บ้าน คลิกเลย! OfficeMate  

ขอบคุณข้อมูลจาก : mgronline.com / thematter.co / www.sanook.com

Exit mobile version