ปลั๊กไฟ คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อแหล่งจ่ายไฟเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้า เราจึงสามารถพบการใช้งานปลั๊กไฟในบ้าน และตามสถานที่ต่าง ๆ ได้ทั่วไป ถึงแม้ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่เราทุกวันจนชินตา แต่จริง ๆ แล้วปลั๊กไฟมีหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะในแต่ละประเทศที่มีการใช้งานประเภทของปลั๊ก (Type) ที่แตกต่างกัน ในบทความนี้ OfficeMate จะพาไปทำความรู้จักกับการใช้งานปลั๊กไฟในแต่ละประเทศ เพื่อให้ผู้ที่ต้องการไปท่องเที่ยว หรือย้ายไปอยู่ในต่างประเทศได้เตรียมความพร้อมใช้ชีวิตในต่างแดนที่ง่ายขึ้น
รู้จักปลั๊กแต่ละประเภท!
Type A
ปลั๊กไฟมาตรฐานที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย รวมถึงในประเทศไทย มีลักษณะเป็นปลั๊กขั้วแบน 2 ขา ข้อสังเกต คือ ขั้วทั้ง 2 ของปลั๊ก Type A จะมีทั้งแบบที่ขนาดเท่ากัน และมีข้างใดข้างหนึ่งที่ใหญ่กว่า
Type B
ปลั๊กไฟรูปแบบ 3 ขั้ว ประกอบด้วย 2 ขั้วแบน เหมือน Type A และอีก 1 ขั้วกลม ซึ่งจะเป็นขากราวด์ หรือขาสายดิน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้า
Type C
ปลั๊กไฟขั้วกลม 2 ขา เป็นหัวปลั๊กมาตรฐานสากล พบเห็นการใช้งานปลั๊ก Type C ได้ทั่วไป แม้แต่ในประเทศไทยเองก็ยังคงมีการใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้าบางประเภท โดยอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีปลั๊กประเภทนี้ จะสามารถเสียบได้กับเต้ารับหลากหลายประเภท เช่น เต้ารับ Type K , Type J , Type L
Type D
ปลั๊กไฟขั้วกลม 3 ขา โดยจะมีขาหนึ่งที่ขนาดใหญ่กว่าอีก 2 ขาที่ขนาดเท่ากัน มีลักษณะคล้ายกับปลั๊กไฟ Type M จึงสามารถใช้งานร่วมกับเต้ารับ Type M ได้โดยไม่ต้องใช้ปลั๊กพ่วงหรือหัวแปลง
Type E
มีลักษณะเป็นปลั๊กขั้วกลม 2 ขา และ 1 คลิปกราวด์ ลักษณะคล้าย Type F จึงมักใช้ร่วมกันได้ในหลาย ๆ ประเทศ
Type F
มีลักษณะเป็นปลั๊กขั้วกลม 2 ขา เหมือนกับ Type E แต่จะไม่มีคลิปกราวด์ จึงสามารถเสียบเข้ากับเต้ารับ Type E ได้ โดยปลั๊กไฟ Type F ยังถูกพบในเครื่องใช้ไฟฟ้าบางชนิดในประเทศไทย เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัว หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์
Type G
เป็นปลั๊ก 3 ขั้ว มีลักษณะเหลี่ยมแบนทั้ง 3 ขา และมีทรงสามเหลี่ยมที่ส่วนปลาย โดยจะมีฟิวส์ภายในปลั๊กเพิ่มความปลอดภัย ปลั๊ก Type G เป็นรูปแบบที่ไม่สามารถใช้งานร่วมกับเต้ารับแบบอื่นได้ จึงต้องใช้งานร่วมกับอะแดปเตอร์แปลงไฟเท่านั้น
Type H
ปลั๊กประเภทพิเศษ มีลักษณะเป็นปลั๊กขั้วแบนทั้ง 3 ขา เอียงมุมเข้าหากัน ปลั๊ก Type H ถูกใช้น้อยมาก โดยปัจจุบันใช้แค่ในประเทศอิสราเอลเท่านั้น
Type I
มีลักษณะคล้ายกับปลั๊ก Type H คือ เป็นปลั๊กขั้วเหลี่ยมแบนทั้ง 3 ขา โดย 2 ขาจะเบนองศาออกจากกันเป็นตัว V คว่ำ และอีก 1 ขากราวด์ ปลั๊ก Type I นี้ไม่สามารถใช้ร่วมกับเต้าเสียบประเภทอื่นได้ จำเป็นต้องใช้หัวแปลงเท่านั้น
Type J
ปลั๊กไฟขั้วกลม 3 ขา โดยเป็นขากราวด์ 1 ขา เต้ารับประเภทนี้สามารถใช้ต่อกับปลั๊ก Type C ได้ ดังนั้น เครื่องใช้ไฟฟ้าจากประเทศไทยที่ใช้ปลั๊ก Type C จึงสามารถเสียบเข้ากับเต้ารับ Type J ได้เลยโดยไม่ต้องใช้อะแดปเตอร์แปลง
Type K
ปลั๊กไฟขั้ว 3 ขา โดยแบ่งเป็นขั้วกลมทั่วไป 2 ขา และขาสายดินทรงครึ่งวงกลมอีก 1 ขา สังเกตง่าย ๆ จากตัวเต้ารับจะเป็นรูปหน้ายิ้ม และสามารถใช้เสียบกับปลั๊กขากลมคู่อย่าง Type C ได้โดยไม่ต้องใช้หัวแปลง
Type L
ปลั๊กไฟ 3 ขา ลักษณะเป็นขั้วกลมเรียงแนวเดียวกันทั้ง 3 ขั้ว เต้ารับของปลั๊ก Type L สามารถรองรับการเสียบใช้งานของปลั๊กไฟ Type C และ Type F ได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องใช้ Adapter แปลงกำลังไฟ
Type M
มีรูปทรงคล้ายกับปลั๊กไฟ Type D เป็นอย่างมาก นั่นคือ เป็นปลั๊ก 3 ขั้ว แบ่งเป็นขั้วกลม 2 ขั้ว และ 1 ขาสายดินที่มีขนาดใหญ่กว่าขั้วกลมทั้งสอง เนื่องจากรูปลักษณ์ที่คล้ายกัน จึงสามารถนำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีปลั๊ก Type D มาใช้ร่วมกับเต้ารับ Type M ได้เลย
Type N
ปลั๊กขั้วกลม 3 ขา คล้ายกับปลั๊ก Type J แต่ขาที่เป็นขากราวด์ 1 ขาจะมีระยะห่างกับขั้วหลักน้อยกว่า Type J เต้ารับของ Type N สามารถรองรับปลั๊กของ Type C ได้โดยไม่ต้องผ่านหัวแปลง
Type O
ปลั๊กประเภทนี้เป็นปลั๊กมาตรฐานที่ใช้ในประเทศไทย เป็นปลั๊ก 3 ขั้ว ประกอบด้วย 2 ขั้วกลมปกติ และ 1 ขั้วสายดิน พัฒนามาจากปลั๊กขั้วกลมของยุโรป ผสมกับระบบสายดินของอเมริกา โดยไม่สามารถใช้ปลั๊ก Type O ร่วมกับประเภทอื่นได้ ต้องเชื่อมต่อโดยใช้หัวแปลงเสมอ
10 ประเทศยอดนิยม ใช้ปลั๊กประเภทไหนบ้าง
เกาหลีใต้
ประเทศที่เป็นปลายทางของนักท่องเที่ยวไทยหลายคน โดยทั่วไปแล้ว เกาหลีใต้ใช้กระแสไฟฟ้ามาตรฐาน 220 V และใช้ปลั๊ก Type C หรือ Type F เช่นเดียวกับประเทศไทย จึงเป็นเรื่องง่ายสำหรับคนไทยในการไปท่องเที่ยวหรือใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น
จีน
หนึ่งในประเทศที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดของโลก ประเทศจีนนิยมใช้ปลั๊ก Type A และ Type C เป็นหลัก เหมือนกับประเทศไทย และมีบางพื้นที่ที่ยังคงใช้ปลั๊ก Type I หรือปลั๊กรูปแบบสามตา หลาย ๆ คนจึงเลือกพกพาหัวแปลงปลั๊กไฟ 3 ตาติดตัวไปด้วย และประเทศจีนใช้กระแสไฟฟ้า 220 V เช่นเดียวกัน
ญี่ปุ่น
อีกหนึ่งประเทศแห่งเทคโนโลยีจากเอเชีย ประเทศญี่ปุ่นนิยมใช้ปลั๊ก Type A กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งตรงกับรูปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าในไทยหลาย ๆ รุ่น แต่อาจจะต้องพิจารณาเรื่องกระแสไฟฟ้า เพราะกระแสไฟฟ้าที่ญี่ปุ่นใช้ คือ 110 V ซึ่งต่างกับประเทศไทยที่ใช้ 220 V ผู้ใช้จึงควรเช็คก่อนทุกครั้งว่าเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ สามารถรับระดับไฟได้เท่าไหร่
อินเดีย
ประเทศทางเอเชียใต้ที่คนไทยหลายคนได้ไปเยือน ประเทศอินเดียใช้ระบบไฟฟ้า 220 V เหมือนประเทศไทย แต่รูปแบบปลั๊กไฟค่อนข้างต่างกันชัดเจน โดยอินเดีย รวมไปถึงประเทศข้างเคียงอย่างศรีลังกา เนปาล บังกลาเทศ จะใช้ปลั๊ก Type D หรือปลั๊ก 3 ตาขั้วกลมเป็นส่วนมาก โดยปลั๊กประเภทนี้จะสามารถใช้งานร่วมกับเต้ารับ Type M ได้เช่นเดียวกันโดยไม่ต้องใช้หัวแปลง
สหรัฐอเมริกา
ย้ายมาที่แถบทวีปอเมริกา ประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกามีการใช้ระบบกระแสไฟฟ้า 120 V และใช้ปลั๊ก Type A เป็นหลัก โดย Type A จะมีข้อแตกต่างกับที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น นั่นคือ ปลั๊กกลมทั้ง 2 ขั้วจะมีขนาดไม่เท่ากัน ดังนั้น จึงไม่สามารถนำไปเสียบกับเต้ารับ Type A ที่มีขนาดรูปลั๊กเท่ากันทั้ง 2 รู้ได้ เช่น ปลั๊ก Type A รูปแบบที่มีขาเท่ากันในประเทศญี่ปุ่น บางพื้นที่ของอเมริกายังมีการใช้ปลั๊ก Type B ร่วมด้วย
อังกฤษ
ประเทศในทวีปยุโรปที่คนไทยหลายคนเลือกไป โดยเฉพาะนักเรียนหรือผู้ที่ต้องการศึกษาต่อต่างประเทศ ประเทศอังกฤษใช้ระบบไฟฟ้ามาตรฐาน 220 V เช่นเดียวกับไทย แต่มีการใช้ประเภทของปลั๊กไฟที่แตกต่างจากประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรป โดยอังกฤษจะใช้ปลั๊ก Type G เป็นหลัก ใครที่จะไปประเทศนี้จึงจำเป็นต้องใช้อะแดปเตอร์แปลงไฟเท่านั้น เพราะปลั๊กประเภทนี้ไม่สามารถใช้ร่วมกับเต้ารับประเภทอื่น ๆ ได้
ฝรั่งเศส
ทวีปยุโรปยังมีระบบปลั๊กเป็นมาตรฐานสากลอย่างปลั๊กไฟ Type C หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปลั๊กยุโรป (Europlug) ที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก หนึ่งในนั้น คือ ประเทศฝรั่งเศส แต่ในปัจจุบันมีการใช้ปลั๊กที่มีลักษณะใกล้เคียงกับปลั๊กยุโรปอย่างปลั๊ก Type E เพิ่มมากขึ้น โดยปลั๊ก Type E นี้สามารถใช้ร่วมกับเต้ารับ Type F ได้อีกด้วย โดยเมืองน้ำหอมนี้ใช้ระบบไฟฟ้า 220-240 V ใกล้เคียงกับไทย
สวิตเซอร์แลนด์
ดินแดนในฝันของใครหลายคน ไม่ใช่เฉพาะแค่นักท่องเที่ยวชาวไทย สวิตเซอร์แลนด์มีระบบกระแสไฟฟ้า 220-240 V เช่นเดียวกับในฝรั่งเศส และใช้ปลั๊กไฟขากลม 3 รู หรือ Type J เป็นหลัก ซึ่งจะมีการใช้ปลั๊ก Type N ที่มีลักษณะเหมือนกับ Type J ร่วมด้วยเช่นกัน โดยเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีรูปลั๊ก Type C หรือปลั๊กยุโรป สามารถเสียบใช้งานได้กับเต้ารับ Type J ได้โดยไม่ต้องใช้หัวแปลงให้ยุ่งยาก
ออสเตรเลีย
อีกหนึ่งจุดหมายหลักที่คนไทยเดินทางไปทำงานและศึกษาต่อ ออสเตรเลียมีระบบการใช้ไฟฟ้า 230 V ใกล้เคียงกับกระแสไฟฟ้าที่ใช้ในไทย ประเทศแดนจิงโจ้แห่งนี้ รวมถึงประเทศอื่นที่อยู่ในภาคพื้นทวีปเดียวกันอย่างนิวซีแลนด์ นิยมใช้ปลั๊กขาเหลี่ยม หรือ Type I เป็นหลัก ผู้ที่นำเครื่องใช้ไฟฟ้าจากไทยไปใช้งานจำเป็นต้องใช้หัวแปลงในการเสียบปลั๊ก
แอฟริกาใต้
ปิดท้ายด้วยประเทศในแถบแอฟริกา อย่างแอฟริกาใต้ ที่มีระบบกระแสไฟฟ้ามาตรฐาน 230 V และมีการใช้ปลั๊กหลากหลายประเภท ได้แก่ Type M เป็นหลัก ตามด้วยและ Type D ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับ Type M เพราะสามารถใช้งานร่วมกันได้โดยเสียบปลั๊ก Type D เข้ากับเต้ารับ Type M ได้โดยไม่ผ่านหัวแปลง
ทั้งหมดคือประเภทปลั๊กไฟที่ถูกใช้ในแต่ละประเทศ เพราะปลั๊กไฟเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ขาดไม่ได้ในยุคที่ทุกอย่างล้วนแต่ดำเนินการด้วยระบบไฟฟ้า การเลือกใช้ปลั๊กไฟที่เหมาะสมและมีคุณภาพจะสามารถช่วยลดการขัดข้องของระบบไฟฟ้า ความเสี่ยงในการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร รวมถึงปกป้องผู้ใช้งานจากอันตรายที่อาจเกิดจากการใช้งานไม่ถูกต้องในระบบไฟฟ้าได้อีกทาง
🔥 ดีลสุดพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่! 🔥
🛍️ ซื้อครบ 999.- ใส่โค้ด “NEW10” รับส่วนลด 10% (สูงสุด 1,000 บาท)
🎯 ยิ่งช้อป ยิ่งลด! อย่าพลาดดีลสุดคุ้มวันนี้!
📌 ช้อปเลย 👉 www.ofm.co.th
บทความที่เกี่ยวข้อง
- เช็ก! ปลั๊กไฟ ได้มาตรฐาน ควรดูจากอะไร
- เครื่องสำรองไฟ เลือกอย่างไรเหมาะสม มี UPS ติดบ้านไว้ หมดปัญหา ไฟดับ ไฟตก ไฟกระชาก
- เอาตัวรอด ไฟดับ ไฟกระชาก ทำอย่างไร และวิธีใช้ เครื่องสำรองไฟ
อ้างอิง: travel.mthai และ allianz-assistance