Site icon OFM blog

รับมือ ‘สไตรีนโมโนเมอร์’ สารเคมีก่อมะเร็ง อันตรายถึงชีวิต

ตีสามของวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 เกิดระเบิดและไฟไหม้ครั้งรุนแรงที่โรงงานผลิตเม็ดพลาสติกแห่งหนึ่งในซอยกิ่งแก้ว จังหวัดสมุทรปราการ กว่าจะควบคุมเพลิงได้สำเร็จ รวมแล้วใช้เวลามากกว่า 24 ชั่วโมง ไฟไหม้ครั้งนี้ ไม่เพียงแต่สร้างความเสียหายให้ทรัพย์สิน แต่ยังส่งผลกระทบถึงสุขภาพ แม้เพลิงจะดับลง แต่กลุ่มควันที่เต็มไปด้วยสารเคมี ‘สไตรีนโมโนเมอร์’ ยังคงอยู่ ลอยปะปนกับอากาศ และหากมีฝนฟ้าตกลงมา ก็อาจทำให้ฝนนั้นปนเปื้อนสารเคมีนี้ด้วยเช่นกัน

รู้จักกับ ‘สไตรีนโมโนเมอร์’

สไตรีนโมโนเมอร์ เป็นของเหลว ใส ไม่มีสี และมีความข้นเหนียว ใช้เป็นสารตั้งต้นในอุตสาหกรรมผลิตพลาสติก และยางสังเคราะห์ ที่ใช้ผลิตเป็นของใช้ในชีวิตประจำวันหลายอย่าง เช่น บรรจุภัณฑ์อาหาร ยางรถยนต์ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ทางการแพทย์ ของใช้ในบ้าน และอีกมากมาย

สไตรีนโมโนเมอร์ติดไฟง่าย หากมีอุณหภูมิสูงเกิน 31 องศาเซลเซียส เมื่อติดไฟแล้วจะกลายเป็นสารอินทรีย์ที่ระเหยได้ง่าย และเมื่อถูกเผาไหม้จะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ และสารอันตรายอื่นๆ อีก เช่น สารเบนซีน และแก็สไซยาไนด์ เป็นต้น

สำหรับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์นั้น เป็นก๊าซพิษที่หากสูดดมเข้าไปมากๆ จะเข้าไปแทนที่ออกซิเจนในกระแสเลือด ร่างกายจะไม่สามารถดึงออกซิเจนไปใช้ได้ เมื่อร่างกายขาดออกซิเจน จะส่งผลให้เกิดอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หอบเหนื่อย หากสารนั้นมีความเข้มข้นสูง อาจทำให้ชัก โคม่า จนเสียชีวิตได้ 

อันตรายจาก ‘สารสไตรีน’

สไตรีนโมโนเมอร์ ถูกจัดให้อยู่ในหมวดของวัตถุอันตรายประเภทที่ 2 เป็นของเหลวไวไฟที่เมื่อเกิดการเผาไหม้แล้ว จะก่อให้เกิดสารพิษอันตรายตามที่เรากล่าวไปข้างต้น ซึ่งสารพิษนี้จะเข้าสู่ร่างกายได้จากการสูดดม การกิน และการสัมผัสทางผิวหนัง ซึ่งอันตรายต่อร่างกายนั้นก็ขึ้นอยู่กับค่าความเข้นข้นของสาร หากอยู่ในบริเวณที่มีสารพิษเข้มข้น โอกาสได้รับผลกระทบก็สูงและร้ายแรงมากขึ้นตามไปด้วย

ผลกระทบจากสารสไตรีน แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ พิษแบบเฉียบพลัน และพิษแบบเรื้อรัง สำหรับพิษแบบเฉียบพลัน หากสัมผัส สูดดม หรือกลืนกิน สารสตรีนเข้าไปจะส่งผลให้

ส่วนพิษแบบเรื้อรังสำหรับคนที่สัมผัสสารพิษในปริมาณมาก อาจส่งผลให้

จากผลกระทบร้ายแรงของสารสไตรีน จึงได้มีการประกาศให้ผู้คนละแวกโรงงานนั้นรีบอพยพทันที เพื่อออกให้ห่างจากสารพิษได้มากที่สุด 

รับมือกับ ‘สไตรีนโมโนเมอร์’

แม้ตอนนี้เจ้าหน้าที่ดับเพลิง และอาสาสมัครจะสามารถเข้าควบคุมเพลิงไหม้ได้แล้ว แต่กลุ่มหมอกควันที่ปนเปื้อนสารเคมียังคงอยู่ และในพื้นที่รัศมี 1 กิโลเมตรยังคงมีความเข้มข้นของสารพิษในระดับที่สามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายได้ สำหรับผู้อพยพ และผู้ที่อยู่ในรัศมี 2-5 กิโลเมตร แนะนำว่าอย่าเพิ่งกลับเข้าบ้าน รวมไปถึง ผู้ที่อยู่ในรัศมี 10 กิโลเมตร ก็ควรเตรียมตัวรับมือ เพราะอาจมีลมแรง จนพัดพากลุ่มหมอกควันไปไกล แม้ความเข้นข้นของสารพิษจะไม่มากเท่าในบริเวณจุดเกิดเหตุ แต่อาจทำให้มีอาการไอ เจ็บคอ แสบจมูก และหายใจลำบากได้ 

วิธีการรับมือ หากสัมผัสควันพิษโดยตรง

 วิธีการรับมือ สำหรับผู้ที่อยู่ในละแวกใกล้เคียง 

OfficeMate ขอส่งกำลังใจให้ผู้ประสบภัย เจ้าหน้าที่ และผู้ที่อยู่ในละแวกใกล้เคียงทุกคน ผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้อย่างปลอดภัยนะคะ ช้อปหน้ากากนิรภัย คลิกที่เว็บไซต์ OfficeMate

ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์พิษวิทยาศิริราช / สำนักข่าวไทยพีบีเอส

Exit mobile version