Search: ภาษี

ขายของออนไลน์พร้อมทำงานประจำ ต้องเสียภาษีอย่างไร?

มนุษย์เงินเดือนเริ่มหันมาขายของออนไลน์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะซื้อมาขายไปหรือผลิตสินค้าขึ้นเอง ในขณะที่รายได้กำลังไปได้สวยแต่ยังมีอีกหลายคนที่ไม่รู้ว่าขายของออนไลน์ก็ต้องเสียภาษีด้วยเช่นกัน ที่สำคัญคือไม่รู้วิธีจัดการกับเรื่องภาษีว่าต้องทำอย่างไร หากต้องการให้ธุรกิจดำเนินต่อไปโดยไร้ความกังวลและไม่สะดุด ลองสละเวลาสักนิดเพื่อทำความเข้าใจเรื่องภาษี แล้วจะรู้ว่าไม่ยากอย่างที่คิด ยื่นภาษี ไม่ได้แปลว่าต้องเสียภาษีเสมอไป การเสียภาษีถือเป็นหน้าที่ของผู้มีรายได้ การขายของออนไลน์แล้วเกิดรายได้ก็ถือว่าเป็นผู้มีรายได้อีกรูปแบบหนึ่ง จึงจำเป็นที่จะต้องยื่นภาษีตามที่กฎหมายกำหนดตามมาตรา 56 แห่งประมวลรัษฎากรไว้ว่า ถ้ามีรายได้ต่อปีเกิน 60,000 บาทต่อปีภาษีต้องยื่นภาษีทุกกรณี แม้ว่าสุดท้ายคำนวณออกมาแล้วจะไม่เสียภาษีก็ตาม  นี่จึงเป็นอีกจุดที่คนขายของออนไลน์มักไม่เข้าใจ และทำพลาดอยู่เสมอ…

Read more

มาตรการช็อปช่วยชาติ 2561 แบ่งเบาภาระด้านภาษีได้จริงหรือไม่?

กลับมาอีกครั้งในช่วงใกล้สิ้นปี กับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและแบ่งเบาภาระผู้เสียภาษีด้วย“ช็อปช่วยชาติ 2561” ซึ่งทางคณะรัฐมนตรีได้ออกประกาศมาตรการช็อปช่วยชาติปี2561 เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ที่ผ่านมานี้เอง ซึ่งในปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัดคือรายการสินค้าที่เข้าร่วมโครงการช็อปช่วยชาติ ลองมาดูรายละเอียดในมาตรการช็อปช่วยชาติของปีนี้กันดีกว่าค่ะ ว่าใครได้ผลประโยชน์ และใช้จริงต้องทำอย่างไร ช็อปช่วยชาติ 2561 กลุ่มตลาดใดได้ผลประโยชน์ อย่างที่บอกไปว่าโครงการช็อปช่วยชาติ 2561 แตกต่างออกไปจากปีที่ผ่านๆมา ส่วนหนึ่งเนื่องจากกระแสของปีก่อนๆ สะท้อนว่าโครงการช็อปช่วยชาติอาจเป็นการหนุนให้กับกลุ่มนายทุนรายใหญ่เสียมากกว่าประชาชนผู้ค้ารายย่อยทำให้ปีนี้ทางรัฐบาลได้ปรับเปลี่ยน…

Read more

อัปเดตล่าสุด! วิธีคํานวณภาษี พร้อมรายการลดหย่อนภาษีปี 2564 แบบโพสต์เดียวจบ!

ช่วงต้นปีแบบนี้ ผู้มีรายได้ทั้งหลายคงกำลัง(แอบ)คิดถึงเรื่องการเสียภาษีกันอยู่ใช่ไหมเอ่ย การเสียภาษี เป็นหน้าที่ของประชาชนผู้มีรายได้ที่ต้องจ่ายให้กับภาครัฐตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อภาครัฐจะได้นำเงินในส่วนนี้ไปทำประโยชน์และพัฒนาประเทศต่อไปนั่นเอง ส่วนใครที่จงใจเลี่ยงการเสียภาษีหรือแจ้งข้อมูลเท็จเพื่อให้จ่ายภาษีน้อยลง มีโทษตามกฎหมายทั้งจำทั้งปรับขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี ทางที่ดีทำให้ถูกต้องตามกฎหมายตั้งแต่แรกดีกว่าโนะ “รายได้” คืออะไรในทางภาษี รายได้ หรือ เงินได้ คือ รายรับที่เราได้รับจากการทำงาน จากปล่อยเช่าอสังหาฯ จากการลงทุน และอื่นๆ ตลอดทั้งปีภาษี และเป็นเงินที่กฏหมายบังคับให้เราต้องนำมาประเมินเพื่อเสียภาษี…

Read more

รายการลดหย่อนภาษี กลุ่มที่ 1 : ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว

1.1 ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัว สำหรับผู้ยื่นภาษีทุกคน สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ 60,000 บาทต่อปี เป็นสิทธิค่าลดหย่อนแบบเหมา 1.2 ค่าลดหย่อนภาษีคู่สมรส ผู้ยื่นภาษีที่ต้องดูแลคู่สมรส สามารถใช้สิทธิคู่สมรสมาลดหย่อนภาษีได้ 60,000 บาท เงื่อนไข คือ ต้องจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย และคู่สมรสต้องเป็นผู้ไม่มีรายได้ตลอดปีภาษี เช่น สามีทำงานคนเดียว ดูแลภรรยาที่ไม่มีรายได้…

Read more

รายการลดหย่อนภาษี กลุ่มที่ 2 : ค่าลดหย่อนภาษีเบี้ยประกัน

2.1 ค่าลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันสังคม สำหรับผู้ยื่นภาษีที่จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนประกันสังคม ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามจ่ายจริงและสูงสุดไม่เกิด 9,000 บาท ต่อคน เนื่องจากเพดานประกันสังคมสูงสุดคนละ 750 บาทต่อเดือน ตลอด 1 ปี รวมเป็นเงิน 9,000 บาทนั่นเอง 2.2 ค่าลดหย่อนภาษีเบี้ยประกันชีวิตทั่วไป เงินฝากแบบมีประกันชีวิต และประกันสุขภาพ…

Read more

รายการลดหย่อนภาษี กลุ่มที่ 3 : ค่าลดหย่อนภาษีการลงทุน

3.1 ค่าลดหย่อนภาษีค่าซื้อกองทุนหุ้นระยะยาว (LTF) สำหรับกองทุนหุ้นระยะยาว หรือ LTF ในปี 2563 นี้ ไม่ได้ไปต่อ ส่วนใครที่มีหุ้น LTF อยู่ในมือ (ซื้อก่อนปี 2563) ให้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามเกณฑ์เดิม คือ  ผู้ยื่นภาษีสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีกองทุน LTF ได้…

Read more

รายการลดหย่อนภาษี กลุ่มที่ 4 : ลดหย่อนภาษีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

4.1 ลดหย่อนภาษีดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัย ผู้ยื่นภาษีสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ตามจ่ายจริง ต่อที่อยู่อาศัยหนึ่งหลังได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท ที่อยู่อาศัยในที่นี้สามารถเป็นได้ทั้งบ้านเดี่ยว คอนโด ห้องชุด ทาวน์เฮ้าส์ ฯลฯ และหากมีการกู้ร่วมกัน การใช้สิทธิลดหย่อนจะต้องหารเท่าๆ กัน เช่นหากมีการกู้ร่วม 2 คน จะได้สิทธิสูงสุดคนละ 50,000 บาท…

Read more

รายการลดหย่อนภาษี กลุ่มที่ 5 : ลดหย่อนภาษีจากการบริจาค

“สำหรับเงินลดหย่อนภาษีในกลุ่มที่ 5 หรือกลุ่มการบริจาค จะต้องคิดหลังจากหักค่าลดหย่อนภาษีในกลุ่มอื่นๆ ไปแล้ว” 5.1 ลดหย่อนภาษีจากเงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา และการพัฒนาสังคม เงินบริจาคในส่วนนี้สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่าของเงินที่บริจาคจริง แต่ต้องไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนภาษีกลุ่ม 1- 4 ไปแล้ว ตรวจสอบรายชื่อสถาบันการศึกษาได้ที่: http://www.rd.go.th/publish/28654.0.html…

Read more

ภาษีป้าย! สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเตรียมตัวก่อนขึ้นป้ายหน้าร้าน

พูดถึงการประกอบการทำธุรกิจที่มีหน้าร้าน หรือมีการทำการโฆษณา การใช้ “ป้าย” เป็นอีกหนึ่งทางในการสื่อสารโฆษณากับกลุ่มลูกค้า สิ่งที่ตามมาสำหรับการมีป้ายโฆษณา คือผู้ประกอบการจะต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในส่วนของ “ภาษีป้าย” ซึ่งมีอัตราค่าภาษีที่แตกต่างกันออกไป ตามรูปแบบ และขนาด วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับภาษีป้าย ว่าป้ายคืออะไร แบบไหนต้องเสียภาษีป้าย แบบไหนไม่ต้องเสียภาษีป้าย รวมถึงขั้นตอนในการยื่นขออนุญาต ขั้นตอนการเสียภาษี และบทลงโทษสำหรับผู้ประกอบการที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนด พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510…

Read more

SMEs บัญชีชุดเดียว: กลยุทธ์ดัดหลังธุรกิจให้เสียภาษีอย่างโปร่งใส

การจะทำธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดกลาง (SMEs) หรือธุรกิจขนาดใหญ่ ย่อมต้องมีการวางระบบบัญชีเพื่อจะได้ทราบที่มาที่ไปของรายได้และรายจ่าย ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจนั้นรับรู้รายได้ ต้นทุนและใช้ในการวางแผนทางธุรกิจเพื่อแข่งขันในอนาคตต่อไป แต่ระบบบัญชีที่ผ่านมาตั้งแต่อดีตมักขึ้นอยู่กับจรรยาบรรณและความซื่อสัตย์ของเจ้าของกิจการ ซึ่งบางรายก็โปร่งใสตรวจสอบได้ แต่บางรายก็หมกเม็ดแอบแฝงมีบัญชีหลายชุด ทำให้เมื่อกิจการมีปัญหารัฐไม่อาจยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือได้เพราะบัญชีกับความเป็นจริงมันสวนทางกัน กรมสรรพากรจึงมีนโยบายปฏิรูประบบบัญชี โดยให้ธุรกิจต่าง ๆ ต้องจัดทำบัญชีธุรกิจเพียงบัญชีชุดเดียวเท่านั้นเพื่อความเป็นมาตรฐานเดียวกัน สิ่งนี้คือสิ่งที่ SMEs ควรสนใจเรียนรู้เพราะมันมีประโยชน์โดยตรงกับผู้ประกอบการ SMEs รายละเอียดจะเป็นอย่างไรเรามาตามไปดูพร้อม ๆ…

Read more