Site icon OFM blog

อัปเดตล่าสุด! วิธีคํานวณภาษี พร้อมรายการลดหย่อนภาษีปี 2564 แบบโพสต์เดียวจบ!

ช่วงต้นปีแบบนี้ ผู้มีรายได้ทั้งหลายคงกำลัง(แอบ)คิดถึงเรื่องการเสียภาษีกันอยู่ใช่ไหมเอ่ย การเสียภาษี เป็นหน้าที่ของประชาชนผู้มีรายได้ที่ต้องจ่ายให้กับภาครัฐตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อภาครัฐจะได้นำเงินในส่วนนี้ไปทำประโยชน์และพัฒนาประเทศต่อไปนั่นเอง ส่วนใครที่จงใจเลี่ยงการเสียภาษีหรือแจ้งข้อมูลเท็จเพื่อให้จ่ายภาษีน้อยลง มีโทษตามกฎหมายทั้งจำทั้งปรับขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี ทางที่ดีทำให้ถูกต้องตามกฎหมายตั้งแต่แรกดีกว่าโนะ

Table of Contents

Toggle

“รายได้” คืออะไรในทางภาษี

รายได้ หรือ เงินได้ คือ รายรับที่เราได้รับจากการทำงาน จากปล่อยเช่าอสังหาฯ จากการลงทุน และอื่นๆ ตลอดทั้งปีภาษี และเป็นเงินที่กฏหมายบังคับให้เราต้องนำมาประเมินเพื่อเสียภาษี ซึ่งเรียกว่าเงินได้พึงประเมิน มีทั้งหมด 8 ประเภทด้วยกัน เมื่อเรามีรายได้แล้ว ก็ต้องไปดูต่อที่ค่าใช้จ่าย

“ค่าใช้จ่าย” สำหรับบุคคลธรรมดา ต้องคิดจากอะไร

ค่าใช้จ่ายตลอดปีภาษีจะคิดจากอะไรดี ในเมื่อไม่ได้เก็บเอกสารไว้ทั้งหมด ค่าใช้จ่ายหรือรายจ่ายในทางภาษี เราต้องไปเริ่มต้นจากการดูที่รายรับหรือเงินได้ทั้งปีภาษี ว่าเราได้จากอะไรและได้จากทางไหนบ้าง เพราะทางกรมสรรพากรให้คิดค่าใช้จ่ายที่จะนำมาลบออกจากรายได้ ตามแต่ประเภทของรายได้ที่เราได้รับ รายได้ในที่นี้ เรียกว่า ‘เงินได้พึงประเมิน’ ถูกแบ่งออกไปทั้งหมด 8 ประเภทดังนี้

อ่านเพิ่มเติม : เงินได้พึงประเมิน 8 ประเภท และหลักเกณฑ์หักค่าใช้จ่าย

**สำหรับผู้สูงอายุ (ุ65 ปีบริบูรณ์ในปีที่ยื่นภาษี) และคนพิการ (ที่ถือบัตรประจำตัวคนพิการ) ที่มีรายได้และต้องยื่นภาษี สามารถใช้สิทธิประโยชน์หักค่าใช้จ่ายได้ 190,000 บาท จากรายได้ประเภทใดก็ได้ที่ได้รับในปีภาษีนั้นๆ**

สิทธิลดหย่อนภาษี สำหรับบุคคลธรรมดามีอะไรบ้าง?

ก่อนจะไปดูรายการสิทธิลดหย่อนภาษี ต้องบอกก่อนว่า ค่าลดหย่อนภาษี 10,000 บาท ไม่ได้แปลว่าจะลดภาษีที่ต้องจ่ายได้ 10,000 บาท นะคะ เพราะค่าลดหย่อนตรงนี้จะเป็นตัวไปลบกับเงินได้พึงประเมินให้น้อยลง เพื่อเวลาเอาไปคูณอัตราภาษีจะได้ประหยัดกว่านั่นเอง

เข้าสู่สิ่งที่ทุกคนอยากรู้กันเลย ปีนี้จะมีรายการอะไรบ้างที่สามารถนำมาเป็นค่าลดหย่อนภาษี และลดหย่อนได้รายการละกี่บาท

รายการที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษี มีทั้งหมด 5 กลุ่ม ได้แก่

กลุ่มที่ 1 ค่าลดหย่อนภาษีส่วนตัวและครอบครัว

กลุ่มที่ 2 ค่าลดหย่อนภาษีกลุ่มเงินประกัน เงินออม และการลงทุน

กลุ่มที่ 3 ค่าลดหย่อนภาษีด้านอสังหาริมทรัพย์

กลุ่มที่ 4 ค่าลดหย่อนภาษีเงินบริจาค

วิธีคำนวณภาษีสำหรับบุคคลธรรมดา

หลักการการคิดภาษีบุคคลธรรมดา สามารถคิดคำนวณได้ 2 วิธี คือ แบบคำนวณภาษีเงินได้พึงประเมิน ซึ่งใช้กับผู้มีรายได้ประเภทที่ 2-8 (ม.40(2)-(8)) และคำนวณภาษีเงินได้สุทธิแบบขั้นบันได

วันนี้เราจะมาพูดถึงการคำนวณภาษีเงินได้สุทธิแบบขั้นบันได ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันส่วนใหญ่ วิธีการ คือ

เมื่อได้ก้อน เงินได้สุทธิ (เงินได้สุทธิรายได้ทั้งปี-รายจ่าย(ตามประเภทของรายรับ)-ค่าลดหย่อน)นำมาคูณกับอัตราภาษี จึงจะได้ภาษีที่ต้องจ่ายให้กรมสรรพากร

ตัวอย่างเช่น สมมุตินาย ก. เป็นพนักงานบริษัท มีรายได้จากเงินเดือนอย่างเดียว ซึ่งนาย ก. ได้รับเงินเดือนเดือนละ 32,000 บาท คิดเป็น 32,000 x 12 เดือน = 384,000 บาทต่อปี

นำมาหักลบค่าใช้จ่าย : นำรายได้ทั้งปี – ค่าใช้จ่าย ซึ่งค่าใช้จ่ายคิดจากประเภทเงินได้พึงประเมิน (ในที่นี้คือรายได้ประเภทที่ 1)

> 384,000 – 100,000 = 284,000 บาท

ลบค่าลดหย่อนภาษี : นำ 284,000 บาท หักด้วยค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และค่ากองทุนประกันสังคม 9,000 บาท

> 284,000 – 60,000 – 9,000 = 215,000 บาท

ดังนั้น 215,000 บาท คือเงินได้สุทธิที่ต้องนำคิดภาษี

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

หากเรามีเงินได้สุทธิน้อย เมื่อนำไปคูณกับอัตราภาษีก็จะทำให้เราประหยัดภาษีลงนั่นเอง

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2564 ยื่นอย่างไร ยื่นที่ไหน ยื่นเมื่อไหร่?

การยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (แบบ ภ.ง.ด. 90, แบบ ภ.ง.ด. 91 และ แบบ ภ.ง.ด. 95) สามารถยื่นภาษีได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 8 เมษายน 2565 ซึ่งสามารถยื่นภาษีได้ทาง 3 ช่องทาง ได้แก่

เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการยื่นภาษีปี 2564

ใครที่มีรายได้เยอะก็จะต้องเสียภาษีเยอะตามไปด้วย แต่จะเสียภาษีให้น้อยลงหรือประหยัดภาษีได้ ก็ต้องมีค่าลดหย่อนภาษีเยอะๆ โดยกลับไปดูว่าตัวเองมีค่าลดหย่อนอะไรบ้างที่สามารถใช้สิทธิได้ หรือหากอยากลงทุนในหุ้น ลองหันมาซื้อพวกกองทุน LTF หรือ RMF เพื่อจะได้สิทธิลดหย่อนภาษีและได้ลงทุนไปด้วย แต่ก็อย่าลืมถามความต้องการของตัวเอง และเงินในกระเป๋าก่อนลงทุนหรือนำไปหาวิธีลดหย่อนอื่นๆ เสมอนะคะ เข้าใจเรื่องการคำนวณภาษีกันไปแล้ว ลองนำไปคำนวณกันดูคร่าวๆ ก่อนยื่นภาษีในปีนี้นะคะ จะได้วางแผนการเสียภาษีได้ทัน

บทความแนะนำ!

Exit mobile version