Site icon OFM blog

สิ่งที่คุณต้องรู้เพื่อรับมือกับคนรอบตัวที่เป็น ‘โรคซึมเศร้า’

โรคซึมเศร้า เป็นความเจ็บป่วยทั้งทางใจและกาย ที่หากมองถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชีวิตประจำวันของผู้ป่วยและคนรอบข้างแล้ว โรคนี้ก็อาจรุนแรงไม่แพ้โรคเรื้อรังอื่นๆ เลย โรคซึมเศร้า พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย เราอาจได้เจอผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอยู่รอบๆ ตัว หรือแม้แต่ตัวเราเองก็อาจกลายเป็นผู้ป่วยซึมเศร้าโดยไม่รู้ตัวได้เช่นกัน ดังนั้น เราลองมาทำความรู้จักกับ โรคซึมเศร้า และวิธีรับมือหากมีคนรอบตัวป่วยเป็นโรคนี้กันเถอะ

โรคซึมเศร้าคืออะไร?

โรคซึมเศร้า ( ภาษาอังกฤษ Depression ) เป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้มากที่สุด และพบในผู้ป่วยหลากหลายช่วงอายุ เป็นภาวะที่เกิดความรู้สึกเศร้าซึม หม่นหมอง ไม่มีความสุข หงุดหงิดหรือเบื่อหน่าย เป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานเกินกว่า 2 สัปดาห์ จนอารมณ์ด้านลบส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ทำให้นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร ไม่มีกะจิตกะใจทำอะไร ไม่มีสมาธิ จนถึงขั้นส่งผลเสียต่อร่างกาย ทำให้อ่อนเพลีย หมดเรี่ยวแรง ผ่ายผอม น้ำหนักลด เป็นต้น

คนปกติมักรู้สึกเศร้าเสียใจเป็นธรรมดา เมื่อมีเรื่องราวมากระทบกระเทือนจิตใจ แต่สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อารมณ์โศกเศร้ามักจะรุนแรงและยาวนานกว่านั้น แม้เหตุการณ์จะผ่านพ้นไปแล้วก็ตาม

สาเหตุที่นำไปสู่โรคซึมเศร้า

การป่วยโรคซึมเศร้าอาจเกิดจากปัจจัยมากกว่าหนึ่งอย่าง และถ้าไม่รักษาอย่างถูกวิธี ก็อาจกลายเป็นโรคซึมเศร้าชนิดรุนแรงได้

อาการของโรคซึมเศร้า

คนเป็นโรคซึมเศร้าอาจมีอาการต่างๆ กันไป หากลองสังเกตตัวเองและคนรอบข้างแล้วพบว่ามีอาการตามนี้หลายๆ ข้อ ให้สงสัยเลยว่าอาจเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้า

อาการดังกล่าวเป็นเพียงสัญญาณเบื้องต้นที่บ่งบอกว่ามีความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้า หากไม่แน่ใจ อาจลองทำ แบบทดสอบภาวะอารมณ์เศร้า (PHQ9) (คลิก) ซึ่งทดสอบได้ทางออนไลน์ หรือไปพบจิตแพทย์เพื่อให้วินิจฉัยจะดีที่สุด

ใครที่เสี่ยงจะเป็นโรคซึมเศร้า?

หากคนรอบตัวเป็นโรคซึมเศร้า เราจะรับมืออย่างไร?

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าโรคซึมเศร้าเป็น “ความเจ็บป่วย” เช่นเดียวกับโรคทางกายอื่นๆ และต้องการการรักษา บางครั้งผู้ป่วยอาจรู้สึกเศร้าอย่างรุนแรงกับเหตุการณ์เล็กๆ น้อยๆ เราต้องไม่ไปตัดสินว่าเขาอ่อนแอ หรือใจไม่สู้ แต่ให้มองอย่างเข้าใจว่าเป็นอาการทั่วไปของโรคนี้

และนี่ก็เป็นเกร็คความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าและวิธีรับมือหากเจอคนรอบตัวหรือคนในออฟฟิศเป็นโรคซึมเศร้าที่ออฟฟิศเมทนำฝากกันค่ะ หากมีคนอยากระบายหรือพูดคุย อย่าปฏิเสธที่จะรับฟัง โรคซึมเศร้าบรรเทาได้ด้วยความเข้าใจและรักษาอย่างถูกต้องนะคะ ด้วยรักและหวังดีจากออฟฟิศเมทค่ะ ปรึกษาเพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับโรคซึมเศร้า โทรสายด่วน 1323

Exit mobile version