Site icon OFM blog

วิธีเก็บสารเคมี ให้ตรงตามคุณสมบัติของสารแต่ละชนิด

ตามโรงงานอุตสาหกรรม แล็ป หรือกิจการต่างๆ ที่จำเป็นต้องมีการใช้งานสารเคมีไม่ว่าจะชนิดเดียว หรือหลายชนิดก็ตาม ต้องคำนึงถึงเรื่องการเก็บสารเคมีให้ถูกต้อง ถูกวิธี ส่วนใหญ่แล้วจะนิยมจัดเก็บสารเคมีโดยเรียงตามพยัญชนะของชื่อสาร หรือจับกลุ่มสารเคมีที่สามารถใช้วัตถุดับไฟประเภทเดียวกันได้ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน

หลักการทั่วไปในการเก็บสารเคมี

  1. สถานที่ที่ใช้เก็บสารเคมี ควรเป็นที่ที่ปิดมิดชิดพร้อมป้ายบ่งบอกชัดเจนว่า “สถานที่เก็บสารเคมี” ผนังกำแพงต้องเป็นแบบทนไฟ ภายในพื้นที่เก็บควรเป็นพื้นที่เย็นและแห้ง อากาศถ่ายเทได้ดี แต่แดดส่องไม่ถึง
  2. ชั้นวางสารเคมีต้องมีความแข็งแรง มั่นคง ไม่สั่นสะเทือน
  3. ภาชนะที่บรรจุสารเคมีควรมีความทนต่อแรงดัน การกัดกร่อน และแรงกระแทกจากภายนอก ควรมีภาชนะสำรองไว้เสมอ และต้องมีป้ายปิดที่ทนทานระบุชื่อสารเคมี อันตรายและข้อควรระวังไว้ชัดเจนที่ข้างภาชนะ
  4. สำหรับตำแหน่งที่ใช้ในการจัดเก็บสารเคมี ไม่ควรวางขวดบนพื้นโดยตรง หรือวางในที่แคบ ใกล้ประตูและหน้าต่าง ส่วนการเก็บสารเคมีที่มีขนาดใหญ่และหนัก ไม่ควรเก็บไว้ในที่สูง
  5. ต้องมีระบบการจัดเก็บสารที่มีระเบียบ บริเวณที่เก็บต้องสะอาดอยู่เสมอ และเรียงสารตามการหมดอายุก่อน-หลัง สารเคมีตัวใดหมดอายุให้รีบทำลายทิ้งทันที
  6. ต้องมีอุปกรณ์ดังเพลิง อุปกรณ์ป้องกันภัย และชุดปฐมพยาบาลพร้อมในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน

เก็บสารเคมีตามคุณสมบัติของสารแต่ละประเภท

สารเคมีไวไฟ

สารเคมีที่จัดเป็นสารไวไฟ คือสารเคมีที่สามารถละอองหรือฝุ่นของสารเคมีนั้น สารมารถติดไฟได้ในอุณหภูมิและความดันปกติ เช่น ผลละเอียดของโลหะ ฟอสฟอรัส ของเหลวที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส เป็นต้น

วิธีการเก็บรักษาสารเคมีกลุ่มนี้ คือ

สารเคมีที่เข้ากันไม่ได้

สารเคมีที่เข้ากันไม่ได้ คือสารเคมีที่เมื่ออยู่เดี่ยวๆ อาจจะไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่เมื่ออยู่ด้วยกันหรือใกล้กันจะก่อให้เกิดความร้อน เกิดการระเบิด หรือเกิดเป็นสารพิษขึ้นได้

วิธีการจัดเก็บสารเคมีกลุ่มนี้ คือ

สารเคมีที่เป็นพิษ

สารเคมีที่เป็นพิษ (toxic chemicals) คือ สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต รวมถึงสารกัมมันตภาพรังสีด้วย

วิธีการจัดเก็บสารเคมีกลุ่มนี้ คือ

สารเคมีกัดกร่อน

สารเคมีกัดกร่อน คือ สารเคมีที่เป็นกรด หรือด่าง ส่วนมากสารพวกนี้จะทำลายบรรจุภัณฑ์ และออกมายังบรรยากาศภายนอกได้ ดังนั้นต้องใส่ใจในเรื่องของบรรจุภัณฑ์เป็นหลัก

วิธีการจัดเก็บสารเคมีกลุ่มนี้ คือ

สารเคมีที่ระเบิดได้

สารที่ระเบิดได้ คือสารที่ไวต่อปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น ระยะเวลาในการนำออกมาจากบรรจุภัณฑ์ ความร้อนหรือเย็นจัด ความแห้ง การสั่นสะเทือน เป็นต้น เมื่อสารเคีเหล่านี้โดนกระตุ้น ณ อุณหภูมิหนึ่งๆ จนเกิดการ Decompose ซึ่งทำให้อากาศรอบๆ เกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนเป็นที่มาของระเบิดนั่นเอง

วิธีการจัดเก็บสารเคมีกลุ่มนี้ คือ

การจัดเก็บสารเคมีเหล่านี้ ถือเป็นเรื่องสำคัญหากไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง ก็จะนำมาซึ่งอันตรายต่อทรัพย์สินและชีวิตได้ นอกจากการเก็บสารเคมีให้ถูกต้องแล้ว ผู้ใช้งานควรสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสมอ รวมถึงตรวจเช็คสถานที่จัดเก็บอยู่เสมอ หากเกิดการรั่วไหลของสารเคมี จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ดูดซับสารเคมีเตรียมไว้ และอุปกรณ์พื้นฐานในเหตุฉุกเฉินอีกด้วยนะคะ

ใครที่สนใจสั่งซื้ออุปกรณ์เกี่ยวกับโรงงาน ก็สามารถเข้าไปเลือกซื้อได้ที่ออฟฟิศเมท เรามีอุปกรณ์ที่ได้คุณภาพ จากแบรนด์ชั้นนำในด้านต่างๆ นอกจากนี้ยังมีบริการจัดส่งฟรี* อีกด้วยนะคะ

ที่มา: shawpat.or.th

Exit mobile version