Site icon OFM blog

คู่มือกู้โลก! แยกขยะก่อนทิ้งอย่างไรให้ถูกวิธี?

ปัญหาขยะล้นโลกจนรั่วไหลลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ พาลให้สัตว์น้ำสัตว์ทะเลต้องเดือดร้อน ก่อเกิดการรณรงค์ต่างๆ มากมาย ที่เห็นได้ชัดในบ้านเรา คือ การที่ห้างสรรพสินค้าต่างๆ ออกแคมเปญงดแจกถุงพลาสติก การใช้หลอดกระดาษ และอีกมากมาย หวังลดปริมาณขยะพลาสติกลง 

แม้จะเป็นการดีที่ทุกคนร่วมใจกันลดใช้ทรัพยากร แต่ต้องบอกว่าปัญหาขยะล้นโลกนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นเพราะคนตะบี้ตะบันใช้พลาสติกเพียงอย่างเดียว เพราะการทิ้งแบบผิดที่นำไปสู่การกำจัดด้วยวิธีผิดๆ ก็ส่งผลให้เกิดปัญหาขยะล้นโลกเช่นกัน

เพราะปัญหาขยะไม่ได้อยู่ที่การใช้ แต่อยู่ที่การจัดการ?

ผู้ร้ายตัวหลักที่หลายคนเบลมว่าเป็นปัญหา เป็นตัวทำลายสิ่งแวดล้อม และทำให้โลกร้อน อย่างพลาสติกนั้น จริงๆ แล้วกลับเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ หรือก๊าซเรือนกระจกในปริมาณต่ำที่สุด ทั้งยังใช้งานได้นาน และใช้ซ้ำได้หลายครั้ง แต่สิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาไม่ว่าจะปัญหาขยะล้นจนรั่วไหล หรือโลกร้อน มาจากการจัดการและการกำจัดพลาสติกที่ไม่ถูกวิธี (อ้างอิงข้อมูลตามบทสัมภาษณ์ของ จิม ซีวอร์ด รองประธานไลออนเดลเบซิล บริษัท เคมีข้ามชาติ จาก Voice online

การจัดการกับขยะนั้น สำคัญที่สุด คือ แยกประเภทขยะและทิ้งขยะให้ถูกถัง เพื่อนำไปสู่การกำจัดที่ถูกต้อง วันนี้ OfficeMate เลยจะพาทุกคนไปดูวิธีการกู้โลกแบบยั่งยืน นั่นก็คือ วิธีการแยกขยะ แยกอย่างไรให้ถูกวิธี พร้อมทิปส์เล็กๆ กับการจัดการขยะในบ้าน ไปดูกันเลย!

แยกขยะเองง่ายๆ แค่ทิ้งให้ถูกถัง

วิธีแยกขยะง่ายๆ ก็คือ การทิ้งขยะให้ถูกถัง ไปทวนความจำกันอีกซักรอบว่าถังขยะแต่ละสีนั้นเหมาะจะทิ้งขยะประเภทไหนลงไปบ้าง?

ถังขยะสีเขียว

ถังขยะสีเขียว สำหรับทิ้งขยะเปียก และขยะอินทรีย์ ที่สามารถเน่าเสีย และย่อยสลายได้ เช่น เศษอาหาร เปลือกผลไม้ ผัก เนื้อสัตว์ ใบไม้ กิ่งไม้ หญ้า วัชพืช 

ถังขยะสีน้ำเงิน

ถังขยะสีน้ำเงิน สำหรับทิ้งขยะทั่วไป หรือขยะที่ไม่สามารถทิ้งลงถังขยะอื่นๆ ได้ เป็นขยะที่ไม่สามารถย่อยสลายและไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ เช่น กล่องโฟม ซองขนม ทิชชู่ ถ้วยมาม่า ผลิตภัณฑ์ชานอ้อย แผ่นซีดี

ถังขยะสีเหลือง

ถังขยะสีเหลือง สำหรับทิ้งขยะรีไซเคิล เช่น หลอดพลาสติก แก้ว เศษแก้ว กระดาษ ภาชนะพลาสติก แลปห่ออาหาร ถุงร้อน ขวดแชมพู กระป๋องน้ำ ขวดน้ำ กล่องกระดาษ ลังกระดาษ ชิ้นส่วนโลหะ อะลูมิเนียม

Note : พลาสติกที่สามารถรีไซเคิลได้ : PETE, HDPE, PVC, LDPE, PP และ PS

ถังขยะสีแดง

ถังขยะสีแดง สำหรับทิ้งขยะอันตราย ขยะติดเชื้อ รวมไปถึงขยะที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่งที่ออกมาจากร่างกาย เช่น น้ำมูก น้ำเหลือง เลือด ประจำเดือน และอสุจิ

ขยะอันตราย เช่น ถ่าน หลอดไฟ แบตเตอรี่ หน้ากากอนามัย ผ้าอนามัย ผ้าอ้อม สำลีใช้แล้ว ทิชชู่เปื้อนสารคัดหลั่ง ยาหมดอายุ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ กระป๋องเสปรย์ กระป๋องยาฆ่าแมลง และภาชนะที่บรรจุสารอันตรายหรือสารไวไฟอื่นๆ  

การแยกขยะไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแยกประเภทขยะแล้วทิ้งให้ถูกถัง เพื่อให้ขยะต่างๆ เข้าสู่กระบวนการกำจัดที่ถูกวิธีต่อไป

Q : แต่ถ้าแถวบ้านหรือคอนโดมีถังขยะตั้งอยู่ใบเดียวสีเดียวจะทำยังไง?

วิธีการง่ายๆ คือ แยกขยะภายในบ้าน รวมขยะชนิดเดียวกันเอาไว้ในถุงขยะใบเดียวกัน แล้วมัดปากถุงก่อนนำไปทิ้ง การทำแบบนี้แม้สุดท้ายจะต้องนำไปทิ้งรวมกันที่ถังขยะส่วนกลาง แต่คนเก็บขยะ หรือพนักงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจะจัดการกับขยะได้ง่ายกว่าการทิ้งขยะทุกประเภทในถุงขยะใบเดียวกัน       

Tips จัดการกับขยะในบ้าน ก่อนทิ้งยังไงดี?

การแยกขยะเริ่มต้นได้ง่ายๆ ในบ้าน ไปดูกันว่า ขยะต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบ้านและในชีวิตประจำวันของเรา ควรจะจัดการยังไงดี?

ขยะที่แยกอย่างถูกวิธี นำไปสู่การกำจัดที่ถูกต้อง

Q : สุดท้ายแล้วขยะที่แยกก็ลงไปอยู่รวมๆ กันในรถขยะ แล้วจะต้องแยกขยะไปทำไม..? 

OfficeMate อยากบอกทุกว่า การแยกขยะนั้นไม่มีวันเสียเปล่า แม้เจ้าหน้าที่จะเก็บขยะไปรวมกัน แต่ท้ายที่สุด ขยะที่เราทิ้งๆ กันนั้นจะเข้าสู่กระบวนการคัดแยกเพื่อนำไปกำจัดหรือรีไซเคิล ซึ่งการแยกขยะทำให้กระบวนการนี้ง่ายขึ้น ทั้งยังช่วยให้ขยะถูกนำไปกำจัดแบบถูกวิธี 

แต่ถ้าหากเราทิ้งขยะรวมกัน กระดาษ หรือภาชนะพลาสติกที่ควรจะนำไปรีไซเคิลได้ อาจชุ่มไปด้วยคราบน้ำมันจากอาหาร และเน่าเปื่อย ก็ยากที่จะนำไปรีไซเคิลได้อีก เป็นปัญหาในขั้นตอนการกำจัด ขยะที่อยู่ไม่ถูกที่บางส่วนยังอาจรั่วไหลลงสู่ทะเล จนเกิดเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมตามมาอีกทอด สรุปง่ายๆ คือ การแยกขยะ ช่วยเพิ่มปริมาณการรีไซเคิล และลดปริมาณขยะที่ต้องกำจัด ซึ่งส่งผลให้ขยะบนโลกลดลงด้วยนั่นเอง

วิธีการแยกขยะที่เรานำมาฝาก หวังว่าจะช่วยให้เพื่อนๆ จัดการกับขยะในบ้านได้ดีขึ้นนะคะ เพราะฉะนั้นแล้ว เวิร์คฟอร์มโฮมนี้ เดลิเวอรีสั่งได้ไม่เป็นปัญหา แค่แยกขยะให้ถูกวิธี และอย่าลืม! หน้ากากอนามัยไอเทมชิ้นสำคัญ ใช้แล้วต้องแยกทิ้งเป็นขยะอันตรายเท่านั้นนะคะ 

ช้อปถังขยะเพิ่มไปแยกขยะที่บ้าน พร้อมสต็อกถุงขยะเก็บไว้ใช้ได้เลยที่ เว็บไซต์ OfficeMate  

ขอบคุณข้อมูลจาก
www.wongnai.com
www.sustainablelife.co

Exit mobile version