Site icon OFM Blog

มือใหม่ต้องรู้! 10 เทคนิคถ่ายภาพกลางคืน สู่การเป็นช่างภาพมืออาชีพ

การถ่ายภาพกลางคืน

สำหรับผู้ที่หลงใหลในศิลปะการถ่ายภาพและต้องการพัฒนาฝีมือให้ก้าวไกล การถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อยหรือตอนกลางคืนนับเป็นโจทย์ที่ท้าทายและน่าสนใจ เพราะแสงสีในยามค่ำคืนมอบบรรยากาศที่เป็นเอกลักษณ์และแตกต่างไปจากภาพถ่ายในเวลากลางวัน ซึ่งจะช่วยสร้างสรรค์ผลงานที่โดดเด่นและน่าประทับใจได้เป็นอย่างดี

สำหรับมือใหม่แล้ว อาจดูเหมือนเป็นเรื่องยาก แต่ไม่ต้องกังวล! ด้วยเทคนิคที่ถูกต้องและการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ คุณก็สามารถสร้างสรรค์ภาพถ่ายกลางคืนที่สวยงามและน่าประทับใจได้เช่นกัน ในบทความนี้ OFM จะมาแนะนำ 10 เทคนิคถ่ายภาพตอนกลางคืนที่มือใหม่ต้องรู้ เพื่อเป็น Stepping Stone สู่การเป็นช่างภาพมืออาชีพ

ภาษากล้องที่มือใหม่หัดถ่ายภาพต้องรู้

ก่อนจะเข้าสู่เนื้อหาหลัก สิ่งที่มือใหม่ต้องทำคือทำความเข้าใจกับ “ภาษากล้อง” หรือคำศัพท์ที่ช่างภาพใช้กัน เพื่อให้เข้าใจบทความนี้ได้มากขึ้น

1. รูรับแสง (Aperture)

รูรับแสงคือขนาดของช่องที่แสงผ่านเข้าเลนส์กล้อง

2. ISO

ISO คือค่าความไวแสงของเซนเซอร์กล้อง

3. ชัตเตอร์สปีด (Shutter Speed)

ชัตเตอร์สปีดคือระยะเวลาที่เซ็นเซอร์กล้องรับแสง

4. การเปิดรับแสง (Exposure)

การเปิดรับแสงคือการกำหนดปริมาณแสงที่เข้าสู่เซ็นเซอร์กล้อง การตั้งค่าให้ดีจะช่วยให้ภาพไม่สว่างเกินไปหรือมืดเกินไป

5. สมดุลสีขาว (White Balance)

สมดุลสีขาวคือการปรับภาพให้ดูเป็นธรรมชาติโดยแก้ไขอุณหภูมิสีของแหล่งแสงให้เป็นสีขาว

6. ความยาวโฟกัส (Focal Length)

ความยาวโฟกัสคือระยะห่างระหว่างเลนส์กล้องและเซ็นเซอร์

7. ฮิสโตแกรม (Histogram)

ฮิสโตแกรมเป็นกราฟที่แสดงค่าความสว่างในภาพ ช่วยให้คุณประเมินการเปิดรับแสงได้ว่าภาพนั้นมืดเกินไป สว่างเกินไป หรือสมดุลพอดี

8. ระยะชัดลึก (Depth of Field)

ระยะชัดลึกคือพื้นที่ที่ภาพดูชัดเจน

9. โฟกัสอัตโนมัติ (Auto Focus)

โฟกัสอัตโนมัติเป็นฟังก์ชันของกล้องที่ปรับเลนส์ให้อยู่ในโฟกัสโดยอัตโนมัติ

10 เทคนิคถ่ายภาพตอนกลางคืน

1. ปรับความไวชัตเตอร์ให้ต่ำ

ปรับความไวชัตเตอร์ให้ต่ำเพื่อรับแสงเข้ากล้องมากขึ้น ใช้ความเร็วชัตเตอร์เริ่มต้นที่ 1/60 หรือน้อยกว่านั้น พร้อมใช้เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้าง เช่น F/1.8

2. ใช้ขาตั้งกล้อง

เพื่อลดความสั่นของภาพ การใช้สปีดชัตเตอร์ต่ำอาจทำให้ภาพเบลอหากเกิดการเคลื่อนไหว ขาตั้งกล้องช่วยลดปัญหานี้ได้

3. ปิดกันสั่นกล้องและเลนส์

ขณะใช้ขาตั้งกล้อง เพราะการใช้กันสั่นร่วมกับขาตั้งกล้องอาจทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของเลนส์ที่ทำให้ภาพไม่คมชัด

4. ใช้ Remote หรือ Timer

เพื่อถ่ายภาพ ช่วยลดการสั่นไหวจากการกดชัตเตอร์ด้วยมือ

5. ปิดโหมด Auto Focus

เพราะในที่แสงน้อยโฟกัสอัตโนมัติอาจทำงานได้ไม่ดี ปรับเป็น Manual Focus เพื่อความชัดเจนของภาพ

6. ปรับรูรับแสงให้ต่ำเข้าไว้

เพื่อให้มีแสงเพียงพอในการถ่ายรูป แนะนำให้ใช้ F-Stop ระหว่าง f/1.4 ถึง f/2.8

7. เล่นกับแสงเงาโดยรอบ

หากมีแหล่งกำเนิดแสงเช่นไฟถนนหรือแสงจากร้านค้า ให้จัดวางตัวแบบใกล้แหล่งกำเนิดแสงเพื่อเพิ่มความสวยงามของภาพ

8. ถ่ายช่วง Blue Hour

ช่วงเวลาหลังพระอาทิตย์ตกหรือก่อนพระอาทิตย์ขึ้นซึ่งท้องฟ้ามีความสวยงามนุ่มนวลเป็นพิเศษ

9. วางแผนให้ดี

Concentrated woman making plan on sticky notes.

สำรวจสถานที่และวางแผนการถ่ายล่วงหน้า เพื่อให้ได้ภาพที่สมบูรณ์แบบ

10. ถ่ายภาพด้วยไฟล์ Raw

เพราะไฟล์ Raw สามารถตกแต่งและแก้ไขรายละเอียดได้มากกว่าไฟล์ JPEG

การถ่ายภาพตอนกลางคืนเป็นศิลปะที่สวยงามและน่าค้นหา การเรียนรู้เทคนิคต่างๆ และการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้คุณสร้างสรรค์ผลงานที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ได้อย่างแน่นอน

🔥 ดีลสุดพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่! 🔥
🛍️ ซื้อครบ 999.- ใส่โค้ด “NEW10” รับส่วนลด 10% (สูงสุด 1,000 บาท)

🎯 ยิ่งช้อป ยิ่งลด! อย่าพลาดดีลสุดคุ้มวันนี้!
📌 ช้อปเลย 👉  www.ofm.co.th

บทความที่เกี่ยวข้อง

ขอบคุณข้อมูลต้นฉบับ Central

Exit mobile version